แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนจากการนำนโยบายเมืองน่าอยู่มาพัฒนา คุณภาพชีวิตในเทศบาลตำบลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนาเมืองน่าอยู่ เทศบาลตําบลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในเทศบาลตําบลปักธงชัย อําเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษานโยบายเมืองน่าอยู่ ของเทศบาลตําบลปักธงชัย อําเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของประชาชนตามนโยบายเมืองน่าอยู่ ของเทศบาลตําบลปักธงชัย อําเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตําบลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา จํานวน 4,310 คน กลุ่มตัวอย่าง ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตําบลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยคํานวณตามสูตรของ ทาโร ยามาเน่ ได้จํานวน 366 คน และทําการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่าง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สําหรับสถิติเชิงวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการศึกษา พบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในเทศบาลตําบลปักธงชัย อําเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การมีส่วนร่วมในการประเมินผล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการและการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีค่าเฉลี่ยต่ําสุด 2) นโยบายเมืองน่าอยู่ของเทศบาลตําบลปักธงชัย อําเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าสิ่งแวดล้อมยั่งยืน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ คนมีสุข เมืองอยู่ดี ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ําสุด คือ การบริหารจัดการที่ดี 3) ผลการทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของประชาชนตามนโยบายเมืองน่าอยู่ ของเทศบาลตําบลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระดับสูง คือ การมีส่วนร่วมในการประเมินผล และการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ r =.853**, .819** อย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .01
References
เกริกศักดิ์ เดชไกรสร. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการนำนโยบายเมืองน่าอยู่ ของเทศบาลตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ไปปฏิบัติ. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
ชุลีรัตน์ เจริญพร. (2560). เมืองน่าอยู่: แนวคิดเพื่อการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมกรณีศึกษาชุมชน หลักหก ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
ไชยยันตร์ กัมปนาทแสนยากร. (2560). แนวคิดและหลักการดำเนินงานเมืองน่าอยู่. เอกสารประกอบการอบรมโครงการเมืองน่าอยู่. กรุงเทพฯ : กรมอนามัย
กระทรวงสาธารณสุข.
พีรญา ปล้องทอง. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายเมืองน่าอยู่ไปปฏิบัติของเทศบาลตำบลตาคลี จังหวัดนครสวรรค์. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
ไพรัตน์ เตชะรินทร์. (2561). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การพัฒนาปัจจุบันของประเทศไทย ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ:ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2562). รายงานผลการวิจัยเรื่องความต้องการการพัฒนานักบริหารตามแนวคิดเมืองน่าอยู่. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อมรรัตน์ ชัยขรรค์เมือง. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนย่อยภายในเขตเทศบาล : ศึกษากรณีเทศบาลตำบลแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Cohen , J. M., & Uphoff, N. T. (1981). Rural Development Participation : Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Ithaca, NY: Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University.