การรับรู้ เจตคติ และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมวัณโรค ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองตะเคียนบอน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
คำสำคัญ:
การรับรู้, เจตคติ, ประสิทธิภาพ, วัณโรค, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ เจตคติต่อโรควัณโรคของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองตะเคียนบอน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมวัณโรคของอาสาสมัครของสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองตะเคียนบอน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมวัณโรคของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลหนองตะเคียนบอน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากอาสาสมัครของสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองตะเคียนบอน จำนวน 50 คน โดยไม่มีการคำนวณขนาดตัวอย่าง เนื่องจากจำนวนประชากรมีจำนวนไม่มาก คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.75 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติไควสแควร์ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้เกี่ยวกับวัณโรคโดยรวม อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 94 และอยู่ในระดับ
ปานกลาง ร้อยละ 6 มีเจตคติต่อวัณโรคของกลุ่มตัวอย่างโดยรวม อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 68 ระดับปานกลาง ร้อยละ 28 และในระดับต่ำ ร้อยละ 4 จากการศึกษาความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมวัณโรค พบว่า อาชีพ การรับรู้เกี่ยวกับวัณโรค และเจตคติต่อวัณโรค มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมวัณโรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้และระยะเวลาการปฏิบัติงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมวัณโรคของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองตะเคียนบอน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
References
ขวัญใจ มอนไธสง. (2559). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคที่พักอาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จริยา ปัณฑวังกูร. (2549). การส่งเสริมสุขภาพ. สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี. :วิทยาการพิมพ์ 241-245 ถนนพิชิตรังสรรค์ อำเภอเมือง จังหวัด
อุบลราชธานี 34000.
ชม ภูมิภาค. (2546). เจตคติ (Attitude). จาก : http://www.socialscience.igetweb.com.
ธีระพงษ์ จ่าพุลี. (2553). พฤติกรรมการป้องกันโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคปอด อำเภอ
ชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธาตรี ยอดยิ่ง, ธัญญาศิริ สารศักดิ์ และปิ่นผกา ปัญญาสุข. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม
ส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง
จังหวัดปทุมธานี. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.
ทัศพร ชูศักดิ์ และคณะ. (2564). การรับรู้ เจตคติ และการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมวัณโรคของอาสามัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลเขาดินพัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี.
นิธิพัฒน์ เจียรกุล. (2547). วารสารวัณโรคโรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต. 35 (3), 1.
พัชราภรณ์ ธรรมรัตนพงษ์. (2552). ความรู้และการปฏิบัติงานในการป้องกันวัณโรคของอาสาสมัครสาธารณสุข ในเรือนจำจังหวัดลำพูน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พิเชษฐ์ ตื้อยศ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ เจตคติ กับพฤติกรรมป้องกันโรคของครอบครัวผู้ป่วย
วัณโรคปอด อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
วิชุดา เสพสมุทร. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมวัณโรคของอาสาสมัคร
สาธารณสุขต่างด้าว ในจังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิภาพร แท่นคำ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างการับรู้ เจตคติ พฤติกรรมการป้องกันโรคกับการติดต่อโรค
ของครอบครัวผู้ป่วยวัณโรคปอด จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
อ้อมจิตร พงษ์ธีระดุล. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานควบคุมวัณโรคตามแนวทางการ
ดําเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติของบุคลากรสาธารณสุข ศูนย์สุขภาพชุมชนจังหวัดชัยภูมิ.
วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Peterson, E. & Plowman, G. E. (1953). Business Organization and Management. (3rd ed.). Ill:Irwin.
Becker and others. (1974): 206, อ้างถึงในจริยา ปัณฑวังกูร 2549: 110-114)
Becker and others (1974) : 206, อ้างถึงในจริยา ปัณฑวังกูร 2549 : 107
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการยุคใหม่ มหาวิทยาลัยชินวัตร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.