พฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารและการมีส่วนร่วมทางการเมือง ในยุคดิจิทัลผ่านสื่อสังคมออนไลน์
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ยุคดิจิทัล, สื่อสังคมออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารและการมีส่วนร่วมทางการเมืองในยุคดิจิทัลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในยุคดิจิทัลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การแสวงหาข้อมูลข่าวสาร การเปิดประสบการณ์ อุปกรณ์ที่ใช้การเปิดรับข่าวสาร และระยะเวลาการเปิดรับข่าวสาร มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) การมีส่วนร่วมทางการเมืองในยุคดิจิทัล โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ด้านการจัดตั้งและเป็นสมาชิกกลุ่มการเมือง และด้านการชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมือง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และ 3) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับชุดตัวแปรการมีส่วนร่วมทางการเมืองในยุคดิจิทัล โดยรวมมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง
References
กัณญาณัฐ เสียงใหญ่. (2567). การตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีม 7(1), 72-83.
ณภัค วรรณศรี. (2565). แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนจากการนำนโยบายเมืองน่าอยู่มาพัฒนาคุณภาพชีวิตในเทศบาลตำบลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการจัดการยุคใหม่ มหาวิทยาลัยชินวัตร, 1(2), 25-38.
ตรัยรัตน์ ปลื้มปิติชัยกุล. (2565). การเปิดรับสื่อและการรับรู้ข่าวสารในสื่อออนไลน์ต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 9 และระดับนานาชาติครั้งที่ 7 มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, หน้า 631-644.
ธนัชพร ปานแย้ม. (2563). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ generation Z ผ่านสื่อสังคมออนไลน์. การค้นคว้าอิสระวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
แพรวพรรณ ปานนุช. (2562). นัยยะของสัญลักษณ์นกหวีดในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของไทย.วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมนิด้า, 6(1), 81-106.
มัทนา เจริญวงศ์. (2552). ความลวงของความจริง เรื่องจริงของข่าวการเมือง. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 26(1), 43-59.
สะถิระ เผือกประพันธุ์. (2554). การสื่อสารทางการเมืองของนายอุทัย พิมพ์ใจชน : ศึกษาในห้วงระหว่างปี พ.ศ.2512-2549. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิษณุโลก. (2562). ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.). https://phitsanulok.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/38/2019/09/06-บทสรุปสำหรับผู้บริหาร2562.pdf
สืบแสง แสงทอง. (2564). การเปิดรับข่าวสารและการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของเจเนอเรชันวาย ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุพรรณี สมบุญธรรม. (2551). ปัญหาและแนวโน้มการใช้อีเลิร์นนิ่งในประเทศไทย. https://etonoy.srru.ac.th
เสถียร เชยประทับ. (2551). การสื่อสาร การเมือง และประชาธิปไตยในสังคมพัฒนาแล้ว. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.
Best, J.W. (1970). Research in Education. New Jersey: Prentice-Hill.
Hinkle, D.E. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. 4th ed. New York : Houghton Mifflin.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการยุคใหม่ มหาวิทยาลัยชินวัตร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.