แนวทางการจัดการเรียนรู้ภัยพิบัติศึกษาเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ภัยพิบัติ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • วรินทร สิริพงษ์ณภัทร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อรณิชา ชุมภูศรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ชรินทร์ มั่งคั่ง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ภัยพิบัติศึกษา, ความฉลาดรู้ภัยพิบัติ, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้ภัยพิบัติศึกษาเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ภัยพิบัติของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้ภัยพิบัติศึกษาเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ภัยพิบัติ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลผ่านการวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง

                  ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการจัดการเรียนรู้ภัยพิบัติศึกษา เป็นวิธีจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนเกิดการคิดวิเคราะห์ปัญหา คิดวิจารณญาณ และเกิดทักษะการแก้ปัญหา เพื่อให้สามารถรับมือหรือจัดการกับปัญหา ภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต และสามารถนำทักษะที่เกิดขึ้นไปต่อยอดในการเรียนรู้เพื่อปรับตัวเข้ากับสถานการณ์โลกได้อย่างเหมาะสม 2) แนวทางการจัดการเรียนรู้ภัยพิบัติศึกษาเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ภัยพิบัติ มีดังนี้ 2.1) ด้านจัดการเรียนรู้ 2.2) ด้านสื่อและแหล่งการเรียนรู้ 2.3) ด้านการวัดและประเมินผล

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ขวัญฤทัย ธรรมกิจไพโรจน์, จันทร์ฉายมณีวงษ์, และจารุวรรณ สนองญาติ. (2566). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริงต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, 6(1), 5-28.

ชนิษฎา นาคธูป, ชรินทร์ มั่งคั่ง, และนิติกร แก้วปัญญา. (2566). การจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาโดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานเพื่อส่งเสริม ทักษะทางสังคม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ, 2(1), 30-44.

นัฐยา ทองจันทร์ และพงษ์ศักดิ์ แป้นแก้ว. (2559). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโดยการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง. วารสารบัณฑิตวิจัย, 7(1), 2-14.

น้ำเพชร นาสารีย์, ศักดิ์สิทธิ์ เหมแก้ว, สมศักดิ์ อรัญญา และ ศรราม สุขสำราญ (2564). การออกแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการโดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐาน: ภัยพิบัติ “อุทกภัย”. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 9(1), 150-162.

พงษ์พัชรินทร์ พุธวัฒนะ. (2564). การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคดิจิทัล, วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี, 1(2), 1-11.

วรพร ปุณยกนก. (2566). ภาวะโลกเดือดจะส่งผลอะไรในอนาคตบ้าง. https://risc.in.th/th/ knowledge/ภาวะโลกเดือดจะส่งผลอะไรในอนาคตบ้าง.

วัชรพล นาคทับ, ศศิพัชร จําปา, และชัยรัตน์ โตศิลา. (2566). ผลการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้เกี่ยวกับอดีตและเจตคติต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น รายวิชาราชบุรีศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(3), 1196-1208.

อัจศรา ประเสริฐสิน, กมลทิพย์ ศรีหาเศษ, และอารีรัตน์ ลาวน้อย. (2563). แนวทางการวัด และประเมินผลฐานสมรรถนะในศตวรรษที่ 21, วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 27(2), 16-31.

Brown, L., Haun, J., & Peterson, L. (2014). A proposed disaster literacy model. Disaster

Collins, A. E. (2009). A Review and Analysis of the Disaster Literacy Scale. Information & Security: An International Journal, 23(1), 53–69.

John, P. (2012). Disaster Education ‘Race’, Equity and Pedagogy. Sense Publishers.

Medicine and Public Health Preparedness, 8(3), 267-275.

Shaw, R., Shiwaku, K., & Takeuchi, Y. (2011). Public education for earthquake disasters: Astudy of residents in Rishiri Town, Japan. Disaster Prevention and Management: An International Journal, 20(1), 54-68.

United Nations International Strategy for Disaster Reduction. (2009). 2009 UNISDR

United Nations. (2023). Take urgent action to combat climate change and its impacts. Terminology on Disaster Risk Reduction. United Nations.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-09