ส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์และบริการผ่านแพลตฟอร์ม Facebook ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • Piyawadee Kaewseekao -
  • อานีส บาตูเซ็ง คณะบริหารธุรกิจ/มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
  • อารียา พรมมี คณะบริหารธุรกิจ/มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

Marketing mix, Purchase Decision, Facebook platform

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะประชากรศาสตร์ 2) ส่วนประสมทางการตลาด และ 3) เปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์และบริการผ่านแพลตฟอร์ม Facebook ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประชากรคือ ผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี กำหนดกลุ่มตัวอย่างตามหลักของ Yamane ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ราย เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test, ค่าความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่าง เป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท และสถานภาพโสด 2) ส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์และบริการผ่านแพลตฟอร์ม Facebook ของผู้บริโภค ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้านกระบวนการ ด้านองค์ประกอบทางกายภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านราคา อยู่ในระดับมาก 3) เปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์กับส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์และบริการผ่านแพลตฟอร์ม Facebook ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ และสถานภาพสมรส มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

 

คำสำคัญ: ส่วนประสมทางการตลาด การตัดสินใจซื้อ แพลตฟอร์ม Facebook

References

กรมการปกครอง (2567: ออนไลน์). ข้อมูลประชากร. ค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2567, จาก https://dashboard.anamai.moph.go.th/population/pop-all/index?year Varin Viboonchak (2020)

กรัณย์พัฒน์ อิ่มประเสริฐ. (2566). การปฏิบัติตามแนวทาง 7 อุปนิสัยสีเขียวของผู้บริโภคในนนทบุรี. อาจารย์มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

กรกานต์ ว่องวัตรพงศ์. (2566). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Shopee ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กุณฑลี รื่นรมย์. (2553). การวิจัยการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 7 . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช, วรารัตน์ สิทธิวงษ์, พัสวรรณ ใจเป็ง, อณัศยา เสียงใส. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าโอทอปบนแพลตฟอร์มออนไลน์. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา ปีที่ 16 ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม 2565).

ชลธิชา เอี่ยมสิทธิพันธุ์. (2562). ปัจจัยส่วนประสมการตลาด 7Ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าร่วมการแข่งขันไตรกีฬา. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/69372/1/6178404639.

ชิษณุพงศ์ สุกก่ำ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสื่อออนไลน์ของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1693/1/59602308.

ทรงพร เทือกสุบรรณ. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพิเคชั่น Shopee ของผู้บริโภค ในกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3813/1/

พัสพล เฉลิมบงกช. (2564). การตัดสินใจซื้อของสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์เสริมความงามในกลุ่มลูกค้าผู้หญิงที่ซื้อสินค้าออนไลน์กรณีศึกษา Central Online. มหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล. https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/4208/1

ภารดา แก้วนิยม. (2564). ส่วนประสมทางการตลาดและการสื่อสารออนไลน์ที่ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกระเป๋าแบรนด์แบ็ก อินดีด (BAG INDEED). บัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีปทุม. http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7466?locale=th

ศรัณยนันฑ์ ศรีจงใจ.(2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสันใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.บัณทิตวิทยาลัย มหาวิทยาศรีนครินทร์วิโรฒ. http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mark/Saranyanan_S.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2561). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิลม์และไซเท็กซ์.

สำนักงานจังหวัดนนทบุรี. (8 กรกฎาคม 2567). ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดนนทบุรี. แหล่งสืบค้น http://www. nonthaburi.go.th/

อรวิภา พงศ์สุวรรณ. (2564). การรับรู้ส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ของผู้ใช้บริการศูนย์บริการเอไอเอส ในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่น สารสินธุ์. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. http://202.28.34.124/dspace/bitstream/123456789/1491/1/62010982006

Cochran, W.G. (1993). Sampling Techniques. 2nd ed. New York: wiley & Sons.

Kotler (2003: 200-209) จากวิจัยของ กัลยรักษ์ อรุณฤกษ์. (2566). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านฟู้ดแลนด์ของลูกค้าในเขตบางกะปิ. บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/vlt17/6314155053.

Likert Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M(Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp.90-95). New

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An introductory analysis. 2th ed. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-27 — Updated on 2025-02-27