ทรรศนะความเห็นของครู และบุคลากรทางการศึกษาต่อแผนพัฒนาการศึกษาเอกชน กรณีศึกษา สถานศึกษาเอกชนในระบบประเภทสามัญ พื้นที่กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
Private Education Development Plan, Opinions, Private Schoolบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) จากทรรศนะความเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทรรศนะความเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อแผนพัฒนาการศึกษาเอกชน และเปรียบเทียบทรรศนะความเห็น
จำแนกตาม เพศ อายุ ตำแหน่ง ระดับการศึกษา อายุการทำงาน และประเภทของสถานศึกษา รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครู และบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาเอกชนประเภทโรงเรียนในระบบประเภทสามัญ พื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 395 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ W.G. Cochran และใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.957 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t - test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One - way ANOVA) และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วย LSD ผลการวิจัยพบว่า 1) ทรรศนะความเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อแผนพัฒนาการศึกษาเอกชน ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2) ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีระดับทรรศนะความเห็นต่อแผนพัฒนาการศึกษาเอกชนภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อทำการทดสอบรายด้าน พบว่า ตำแหน่งต่างกัน มีระดับทรรศนะความเห็นต่อแผนพัฒนาการศึกษาเอกชน ด้านที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรเพื่อการศึกษาแตกต่างกัน และครู และบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาต่างประเภทกันมีทรรศนะความเห็นต่อแผนพัฒนาการศึกษาเอกชนทั้งภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการศึกษาเอกชน แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ เช่น การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ด้านที่ 2 การสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคม เช่น ส่งเสริมและสนับสนุนภาคีเครือข่ายทางการศึกษาเอกชน ด้านที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรเพื่อการศึกษา เช่น การส่งเสริมการระดมทรัพยากรจากภาคส่วนต่าง ๆ และด้านที่ 4 การส่งเสริมกลไกการแข่งขันที่เป็นธรรมภายใต้การกำกับของรัฐ เช่น จัดประชุมและเวทีเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็น
References
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2566). รายงานการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาการศึกษาเอกชน พ.ศ. 2560 – 2565. ผู้แต่ง.
คุณานนต์ วิหคาภิรมย์. (2565). ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการให้การศึกษาแก่เด็กนักเรียนไทย [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR at Chulalongkorn University. http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.256
ชิตวร ลีละผลิน. (2564, 1 มกราคม). วิกฤตการศึกษาไทย ถ้าไร้ ‘การศึกษาเอกชน’. มติชนออนไลน์.
https://www.matichon.co.th/education/news_2507335
ฐิตารีย์ กุลวงศ์คเณศ. (2562). การศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินงานวิชาการเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา]. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. http://etheses.aru.ac.th/thesisdetail.php?id=1934
พิสณุ ฟองศรี. (2552). วิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). ด่านสุทธาการพิมพ์.
วิทยากร เชียงกูล. (2549). รายงานสภาวะการศึกษาไทยปี 2547/2548: รากเหง้าของปัญหาและแนวทางแก้ไข. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สอางค์ ดำเนินสวัสดิ์. (2551). เอกสารประกอบการสอนวิชาไทย เรื่อง การใช้ภาษาแสดงทรรศนะ. สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย FM 101.5 MHz. https://bit.ly/4cqjplW
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาเอกชน พ.ศ. 2566 – 2570. เจี้ยฮั้ว.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2567). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. ผู้แต่ง.
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2562). เอกสารประกอบการจัดทำแผนเพิ่มประสิทธิภาพด้านการปรับปรุงกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. https://bit.ly/4fILvvs
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). โครงการวิจัยเรื่องการกำหนดแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. https://edu.lpru.ac.th /eu/21st/st-010.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของภาคประชาสังคม/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ..... . พริกหวานกราฟฟิค.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการยุคใหม่ มหาวิทยาลัยชินวัตร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.