ทัศนคติในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร: กรณีศึกษากองบริหารจัดเก็บข้อมูลสถิติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ
คำสำคัญ:
ทัศนคติในการปฏิบัติงาน, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, กองบริหารจัดเก็บข้อมูลสถิติบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาทัศนคติในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 4) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาบุคลากร โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน จากกลุ่มตัวอย่าง 120 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Proportional Stratified Sampling เมื่อได้รับข้อมูลจากแบบสอบถามชุดที่ 1 แล้ว ผู้วิจัยสรุปประเด็นและนำมาจัดกลุ่มสำหรับออกแบบข้อคำถามในแบบสอบถามชุดที่ 2 แบบสอบถามคำถามปลายเปิด เกี่ยวกับข้อเสนอแนวทางการพัฒนาบุคลากร จากกลุ่มตัวอย่าง 6 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Purposive Sampling จากนั้นนำมาสรุป วิเคราะห์ และจัดกลุ่มประเด็นคำตอบ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนวทางการพัฒนาบุคลากร
ผลการศึกษา พบว่า ระดับประสิทธิภาพและระดับทัศนคติในการปฏิบัติงานภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) บุคลากรมีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน ได้แก่ อายุและประสบการณ์การทำงาน มีระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน 2) ทัศนคติในการปฏิบัติงานทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ความเข้าใจ, ด้านอารมณ์ ความรู้สึก, และด้านพฤติกรรม ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยทัศนคติในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน มากที่สุด คือ ด้านความรู้ ความเข้าใจ รองลงมา คือ ด้านพฤติกรรม และด้านอารมณ์ ความรู้สึก ตามลำดับ 3) ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาบุคลากร พบว่า ควรมีการถอดบทเรียนหลังเสร็จสิ้นโครงการ ซึ่งจะช่วยให้ทราบปัญหาและแนวทางการแก้ไขที่จะช่วยให้กระบวนการทำงานเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
References
กองบริหารจัดเก็บข้อมูลสถิติ. (2567). รายงานประจำปี. กรุงเทพฯ: กองบริหารจัดเก็บข้อมูลสถิติ.
จรัญญา ปานเจริญ. (2553). การจัดการและพฤติกรรมในองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
จุมพล หนิมพานิช. (2556). การบริหารและการพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2556). การสรรหา การคัดเลือก และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:
วี.พริ้นท์ (1991).
ทิวาพร พรหมจอม. (2560). ประสิทธิผลการปฏิบัติตามสมรรถนะหลักของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
วิโรจน์ สุวรรณประไพ. (2565). ทัศนคติที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐในหน่วยงานเทศบาลเมืองกระบี่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สมคิด บางโพ. (2540). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: นำอักษรการพิมพ์.
อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Carter, V.G. (1959). Dictionary of education. New York: McGraw-Hill.
Gibson, J. (2000). Organizations, behavior, structure, processes (9th ed.). New York: McGraw-Hill.
Kendler, H. H. (1963). Basic psychology. New York: McGraw-Hill.
Krech, D., Crutchfield, R. S., & Ballachey, E. L. (1962). Individual in society: A textbook of social psychology. New York: McGraw-Hill.
Munn, N. L. (1971). The evolution of the human mind. Boston: Houghton Mifflin Harcourt (HMH).
Peterson, E. & Plowman, G. E. (1953). Business Organization and Management (3rd ed.). Illinois: Irwin.
Sharon, S., and Saul M. (1996). Social psychology. Boston: Houghton Mifflin.
Triandis, H.C. (1971). Attitude and Attitude Change. Hoboken, NJ: John Wiley & Sons.
Yamane, Taro. (1976). Statistic: An Introduction Analysis (2nd ed). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการยุคใหม่ มหาวิทยาลัยชินวัตร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.