ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานระดับบังคับบัญชา กรณีศึกษา บริษัท นิโปร (ประเทศไทย) จำกัด
คำสำคัญ:
ความผูกพันต่อองค์การ, พนักงานระดับบังคับบัญชาบทคัดย่อ
การค้นคว้าวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานระดับบังคับบัญชา กรณีศึกษา บริษัท นิโปร (ประเทศไทย) จำกัดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานระดับบังคับบัญชา บริษัท นิโปร (ประเทศไทย) จำกัด และ (2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานระดับบังคับบัญชา บริษัท นิโปร (ประเทศไทย) จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ พนักงานระดับบังคับบัญชา บริษัท นิโปร (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 362 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการศึกษา พบว่า ระดับความผูกพันต่อองค์การโดยรวมทั้งสามด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.49) โดยตัวแปรด้านความปรารถนาที่จะอยู่ในองค์การมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( = 3.64) ตัวแปรอายุและสถานภาพสมรสมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ขณะที่ตัวแปรปัจจัย ด้านลักษณะงานมีเพียงปัจจัยด้านค่าตอบแทนเท่านั้นที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานทั้งสามด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยความคาดหวังที่จะก้าวหน้าในหน้าที่การงานและความมีอิสระในการทำงานมีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานในด้านความปรารถนาที่จะอยู่ในองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เพียงด้านเดียว และปัจจัยการพัฒนาการทำงานมีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานในด้านการรักษาพนักงานไว้ในองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เพียงด้านเดียวเช่นกัน
References
Narin Tunpaiboon. (2020, September 11). Business Outlook / Medical Device Industry in 2019 – 2021. https://www.krungsri.com/en/research/industry/industry-outlook/Other-Industries/Medical-Devices/IO/medical-devices
Thiptipakorn, S., Kongklaew, J., & Kitisaknawin, C. (2018). Human Resource Management for Build the competitiveness of small and medium enterprises, Graduate Studies Valaiya Alongkorn Rajabhat University Under the royal patronage Journal, 11(2), 252 – 267.
Jan-Ngam, L. (2016). Factors Affecting Organizational Engagement of Head Office Employees of the Government Savings Bank Individual Customers, [Unpublished master’s thesis]. Faculty of Political Science, Thammasat University.
Mowday, R.T., Porter, L.W. & Steers, R.M. (1982). The Psychology of Commitment Absenteeism and Turnover. New York : Academic Press.
Baron, R.A. (1986) Behavior in Organization. Boston: Allyn and Bacon.
Porter, L. W., Steers, R. M., & Boulian, P. V. (1974). Organizational Commitment, Job Satisfaction, and turnover among psychiatric Technicians. Journal of Applied Psychology, 59(5), 603–609.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.
Tantichuwong, N. (2016). Organizational commitment of new executive change management, [Unpublished master’s thesis]. Faculty of Political Sciences, Chulalongkorn University.
Sripirom, K. (2015). Human Resource Management Tools which affect to Brand Building in Cement Thai Public Co., Ltd. [Unpublished master’s thesis]. Faculty of Business and Accountant, Thammasat University.
Steers, R. M. (1977). Antecedents and outcome of organizational commitment. Administrative Science Quarterly.
Dunham R. B., Grube, J. A., & Castaneda, M. B. (1994). Organizational commitment:The utility of an integrative definition. Journal of Applied Psychology, 79(3), 370–380.
Watthana, S. (2016). Factors Affecting the Organizational Engagement of HGST (Thailand) Employees Ltd. [Unpublished master’s thesis]. Faculty of Business Administration, Rajabhat Rajanagarindra University.
Greenberg, J., & Baron, R. B. (1995). Behavior in organizations: Understanding and managing the human side work. (5th ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall, Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.