ปัจจัยการเรียนรู้และการเปิดรับผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ กรณีศึกษา : นักศึกษาโครงการทุนทวิภาคีระดับปริญญาตรี บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด
คำสำคัญ:
การเรียนรู้, การเปิดรับ, สื่ออิเล็กทรอนิกส์, เครือข่ายสังคมออนไลน์, โครงการทุนทวิภาคีระดับปริญญาตรีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านความสำเร็จทางการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และปัจจัยด้านการเปิดรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความสำเร็จทางการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และปัจจัยด้านการเปิดรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักศึกษาโครงการทุนทวิภาคีระดับปริญญาตรีของบริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด จำนวนทั้งสิ้น 80 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยด้านความสำเร็จทางการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้เรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (= 4.13) เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยได้ดังนี้ (1) ด้านผู้สนับสนุนจากองค์กร ( = 4.19) (2) ด้านเทคโนโลยี ( = 4.14) (3) ด้านผู้ใช้และผู้เรียน ( = 4.11) และ (4) ด้านสื่อการสอน ( = 4.07) 2) ปัจจัยด้านการเปิดรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 4.11) เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยได้ด้งนี้ (1) ด้านความคิด ( = 4.24) (2) ด้านความรู้สึก ( = 4.11) และ (3) ด้านการกระทำ ( = 3.98) 3) ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัย ด้านความสำเร็จทางการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และปัจจัยด้านการเปิดรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ พบว่า มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
Udomtanatheera, K. (2019). E-Learning Benefit. https://www.iok2u.com/index.php/article/information-technology/1415-e-learning-e-learning-benefit
Zimbardo, P., & Ebbesen, E. (1970). Influencing Attitude and Changing Behavior. Wesley: Mass Reading Addison.
Nithipongvanich, M., & Chaikiturajai,P. (2019). Factors Effecting the Learning Achievement for Electronic Learning (e-Learning) towards of Kasikornbank’s employees. http://dspace.spu.ac.th/bitstream/123456789/4268/1/article.
Chotiwong, Ch.,& Srirod, N. (2020). The Competency Factors relationship with Work Efficiency of Operational Employees Group passing in E-learning Training Case study: Home Product Center Public Company Limited. Journal of Business and Industrial Development, 1(1),54-63. http://ojs.kmutnb.ac.th/index.php/bid/article/view/4708/3440
Williams, Y. (2019). What Is Test-Retest Reliability?. http://study.com/academy/lesson/test-retest-reliability-coefficient-example-lessonquiz.html.
Nithipongvanich, M., & Chaikiturajai,P. (2019). Factors Effecting the Learning Achievement for Electronic Learning (e-Learning) towards of Kasikornbank’s employees. http://dspace.spu.ac.th/bitstream/123456789/4268/1/article.
Damjub, W. (2019). Social Media for Teaching and Learning in the 21st Century. Journal of Liberal Arts,Maejo University, 7(2), 143-159.
Senkaew,.K. (2017). Social Network Usage Behaviors of X Generation in Bangkok. [Master’s thesis]. Bangkok University. http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/2395/1/kaikarn_senk.pdf
Choernsuk, Ku.,& Wathikthinakorn, P. (2014). Factors Affecting Use of E-Learning Technology by Pre-degree Students at Ramkhamhaeng University. [Master’s thesis]. Ramkhamhaeng University.http://www.mac.ru.ac.th/doc/eLearning.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.