แนวทางการพัฒนาธุรกิจเส้นหมี่โคราชของผู้ประกอบการในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนา, ธุรกิจ, หมี่โคราช, ผู้ประกอบการบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพการดำเนินธุรกิจเส้นหมี่โคราช 2) ศึกษาระดับปัญหาในการดำเนินธุรกิจเส้นหมี่โคราช 3) เปรียบเทียบระดับปัญหากับสภาพการดำเนินธุรกิจเส้นหมี่โคราช และ 4) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการดำเนินธุรกิจเส้นหมี่โคราชของผู้ประกอบการในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ประชากร คือ ผู้ประกอบการธุรกิจเส้นหมี่โคราชในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และวิเคราะห์เชิงเนื้อหาข้อมูลที่เป็นข้อเสนอแนะ ผลการวิจัย 1) สภาพการดำเนินธุรกิจเส้นหมี่โคราชส่วนใหญ่ พบว่า ดำเนินธุรกิจมาแล้วเป็นเวลา 11-15 ปี มีพนักงานประมาณ 11-30 คน ช่องทางการตลาดของธุรกิจ คือ ช่องทางออนไลน์ มีปริมาณการผลิตไม่เกิน 10,000 ห่อต่อเดือน และ มีรายได้จากการจำหน่ายไม่เกิน 100,000 บาทต่อเดือน 2) ระดับปัญหาในการดำเนินธุรกิจโดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านวัตถุดิบ ด้านการขาย ด้านการเงิน ด้านพนักงาน และ ด้านการบริหารจัดการ 3) การเปรียบเทียบระดับปัญหาในการดำเนินธุรกิจ จำแนกตามสภาพการดำเนินธุรกิจ พบว่า ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ และจำนวนพนักงานที่แตกต่างกัน มีระดับปัญหาในการดำเนินธุรกิจแตกต่างกัน ยกเว้นช่องทางการตลาดของธุรกิจ ปริมาณการผลิตต่อเดือน และรายได้จากการจำหน่ายต่อเดือนที่มีระดับปัญหาในการดำเนินธุรกิจไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และ 4) แนวทางการพัฒนาการดำเนินธุรกิจเส้นหมี่โคราช คือ 1. ควรพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นหมี่ให้มีอายุการเก็บรักษายาวนานและมีรสชาติที่หลากหลาย 2. ควรหาช่องทางการจัดจำหน่ายเพิ่ม 3. ควรหาแหล่งเงินกู้ที่ให้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อส่งเสริมการแข่งขัน 4. ควรมีการจ้างงานหมุนเวียนในกลุ่มสมาชิกเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต 5. ควรให้โอกาสคนรุ่นใหม่ซึ่งมีวิสัยทัศน์กว้างไกลได้เข้ามาบริหารงานเพื่อให้ธุรกิจเติบโตและแข่งขันได้
References
สำนักส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2556). แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. https://www.sme.go.th
ธีระพันธ์ จิตกาวิน. (2562). การวิเคราะห์การดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หมวดธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่มในจังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กิตติ กอบัวแก้ว. (2553). การบริหารการผลิต (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
พุฒิยา เพชงคง. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการดำเนินงานกับค่าใช้จ่ายของธุรกิจการผลิตในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
มีแสน แก่นชูวงค์ และชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ. (2562). การศึกษาการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่สร้างคุณค่าเพิ่ม. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2555). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์เน้นสำหรับงานวิจัย. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อังสนา ประสี. (2555). ปัญหาการดำเนินงานและความต้องการสนับสนุนของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนครสวรรค์. คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ปรียากมล เอื้องอ้าย. (2560). ปัจจัยในการคัดเลือกผู้จัดหาวัตถุดิบของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาเพื่อความอยู่รอดและเติบโตของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเขตจังหวัดเพชรบุรี. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นันท์นภัส คะชะนา. (2559). กลยุทธ์ในการดำเนินงานของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจวิสาหกิขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
จุฑาพร รัตนโชคกุล. (2561). เส้นทางสู่ความสำเร็จของการเป็นผู้ประกอบการดิจิทัลที่ขายสินค้าออนไลน์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เครือข่ายมหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2554). ปัญหาของวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม. http://www.sara-dd.com
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.