การปรับปรุงระบบการจัดการคลังสินค้าวัตถุดิบและการพัฒนาคำสั่งซื้อ

ผู้แต่ง

  • กรกมล แสนสุข ภาควิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ธวัลรัตน์ แพพิพัฒน์ ภาควิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ศุภกร เจริญประสิทธิ์ ภาควิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • สมชาย เปรียงพรม ภาควิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

สินค้าขาดมือ, คลังสินค้า, การจัดการคลังสินค้า, ปริมาณสินค้าคงคลังน้อยที่สุด, ปริมาณสินค้าคงคลังมากที่สุด, การจัดการคำสั่งซื้อ

บทคัดย่อ

การศึกษา เรื่อง การปรับปรุงระบบการจัดการคลังสินค้าวัตถุดิบและการพัฒนาคำสั่งซื้อ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการสินค้าคงคลังของบริษัทฯ 2) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพด้านการจัดการคำสั่งซื้อวัตถุดิบของบริษัทฯ เป็นการศึกษาในเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากปัญหาที่เกิดขึ้น สัมภาษณ์และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาในส่วนของขั้นตอนการสั่งซื้อ เกิดจากเมื่อมีความต้องการสั่งซื้อสินค้าเพิ่ม จะอ้างอิงการคำนวณโดยใช้ประสบการณ์ของช่างเป็นหลัก และไม่มีการตรวจสอบการคำนวณก่อนทำการสั่งซื้อ ทำให้เกิดปัญหา ในส่วนปัญหาด้านการจัดการสินค้าคงคลังเกิดจากกระบวนการทำงานด้านการรับเข้าและจัดเก็บวัตถุดิบภายในคลังสินค้าจึงขาดการตรวจนับเข้าสู่คลังอุปกรณ์ การจัดเก็บวัตถุดิบเข้าสู่คลังสินค้าขาดการจัดทำเอกสาร และการจัดเรียงตามการใช้งานที่เหมาะสม ส่งผลให้เสียเวลาในการตรวจนับวัตถุดิบใหม่ทุกครั้งที่จะต้องทำการสั่งซื้อ ทำให้ระยะเวลาในการสั่งซื้อเพิ่มขึ้น เวลารอคอยวัตถุดิบก็จะเพิ่มขึ้นไปด้วย ผลสรุปได้ว่า การประยุกต์ใช้โปรแกรมช่วยคำนวณมีส่วนช่วยพัฒนาปรับปรุงคำสั่งซื้อได้จริง ผู้ศึกษาจึงได้มีการจัดทำองค์ความรู้วิธีการใช้งานโปรแกรมสู่องค์กร และด้านการจัดการสินค้าคงคลังได้มีการวัดผล โดยนำทฤษฎีการกำหนดเวลามาตรฐานมาประยุกต์ใช้ โดยใช้เปรียบเทียบระยะเวลาในการทำงาน โดยผลสรุปจากการเปรียบเทียบดังกล่าว พบว่าเวลาเฉลี่ยมาตรฐานในการทำงานลดลงถึง 36.43% จึงสามารถกล่าวได้ว่าผลการปรับปรุงดังกล่าวส่งผลให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

References

Aunchangwang, J. (2013). Enhancing Warehouse Inventory Management Efficiency. [Master's thesis]. Graduate School of Science, Thammasat University. (in Thai).

Hilmi Septabiyya. (2022). Application of ABC Analysis to Control Inventory and Material Excesses of the Winston Rattan High back Armchair at PT Kharisma Rotan Mandiri. Proceedings of the 3rd Asia Pacific International Conference on Industrial Engineering and Operations Management, Johor Bahru, Malaysia, September 13–15, 2022

Ghiani, G., Laporte, G., & Musmanno, R. (2013). Introduction to Logistics System (2nded.). Wiley. https://www.wiley.com/en-us/Introduction+to+Logistics+Systems+Management%2C+2nd+Edition-p-9781118492178

CSCMP Glossary. (2015). Picking. Logisticsglossary. http://logisticsglossary.blogspot.com/2015/08/picking.html (in Thai).

Maytag, R. W. (2005). Maytag Testing Theory: Random Software Testing Approach. In Proceedings of the International Conference on Software Engineering (pp. 123-130). New York, NY: ACM Press.

Pipithpanth, K. (2014). Fishbone Diagram. Gotoknow. https://www.gotoknow.org/posts/563368 (in Thai).

Makoena. (2019). Economic Order Quantity Model for Growing Items with Incremental Quantity Discounts. University of Pretoria. https://shorturl.asia/XWSsH.

Amani, N. S., & Okdinawati, L. (2023). Inventory Management with EOQ Model for Telecom-munication Tower Accessories. International Journal of Current Science Research and Review, 6(2), 1000–1005.

Hrutaiwongkul, P. (2017). Guidelines for Developing Traditional Building Materials Retail Store Inventory Management Systems: A Case Study of P. Suphanapum Store. [Master's thesis, Graduate School of Management]. Mahidol University. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30