การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน กรณีศึกษา : บริษัท แอล เอช มอลล์ แอนด์ โฮเทล จำกัด และบริษัทในเครือ (ส่วนธุรกิจโรงแรม)
คำสำคัญ:
ปัจจัยด้านลักษณะของงาน, ปัจจัยด้านประสบการณ์ในงาน, ความผูกพันต่อองค์กรบทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานในบริษัท 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท แอล เอช มอลล์ แอนด์ โฮเทล จำกัด และบริษัทในเครือในส่วนธุรกิจโรงแรม ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำนวน 234 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์กร พบว่า พนักงานมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์กรโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ทุกด้าน คือ ด้านความต้องการมีส่วนร่วม ด้านการแสดงตน และด้านความภักดีต่อองค์กร ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณและสมการพยากรณ์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน พบว่าปัจจัยด้านลักษณะของงาน ด้านความเข้าใจในการทำงาน ด้านลักษณะงานที่หลากหลายและท้าทาย ด้านงานที่ทำมีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และด้านโอกาสก้าวหน้าในงาน มีผลต่อความผูกพันของพนักงานโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ ปัจจัยด้านประสบการณ์ในงาน ด้านความรู้สึกว่าตนเองมีบทบาทและความสำคัญต่อองค์กร ด้านความน่าเชื่อถือขององค์กรและด้านสามารถในการพึ่งพาได้ขององค์กร มีผลต่อความผูกพันของพนักงานโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
ศรัญยา แสงลิ้มสุวรรณ และคณะ. (2556). การพัฒนาโมเดลความผูกพันของพนักงานต่อองค์การของพนักงานในบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในประเทศไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(2), 79.
ปาริชาต บัวเป็ง. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท ไดกิ้น อินดัส ทรีส์ ประเทศไทย (จํากัด). [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตรและสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). วิทยาออฟเซ็ทการพิมพ์.
วัลลภัช สุขสวัสดิ์. (2560). การวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). พิษณุโลก : สำนักพิมพมหาวิทยาลัยนเรศวร.
นวลศรี กาญจนรัตน์. (2543). ความผูกพันของพนักงาน สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางที่มีต่อองค์การ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ฐิติมา หลักทอง. (2557). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท ผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
นุชติมา รอบคอบ. (2542). ความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ : ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การเภสัชกรรม สังกัดสำนักงานใหญ่ ราชเทวี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์.
ชาญวุฒิ บุญชม. (2553). ความผูกพันต่อองค์การ : ศึกษาเฉพาะกรณีบุคลากรโรงเรียนอิสลามสันติชน กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เบญจมาภรณ์ นวลิมป์. (2546). การศึกษาระดับความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ และศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านบุคคล ลักษณะงาน และประสบการณ์ในงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารไทยพานิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสมุทรสาคร และสมุทรสงคราม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมจิตร จันทร์เพ็ญ. (2557). ความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ศศินบุญ บุญยิ่ง. (2544). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.