การลดจำนวนข้อในแบบวัดโดยให้มีผลต่อผลการวัดน้อยที่สุด

ผู้แต่ง

  • วิเชียร เกตุสิงห์ ที่ปรึกษาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ด้านวัดผลสถิติการศึกษา และอาจารย์พิเศษคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และคณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

วิจัยเชิงปริมาณ, แบบสอบถาม, ค่าอำนาจจำแนก

บทคัดย่อ

การสร้างข้อคำถามในแบบสอบถามในการวิจัยเชิงปริมาณ มักจะมีคำถามว่าควรมีจำนวนข้อคำถามเท่าไรจึงจะเพียงพอสำหรับการตอบคำถามวิจัยและครอบคลุมบริบทของปัญหาที่จะนำมาสู่การแก้ไขได้ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายในการทำวิจัยเป็นอันดับแรก แต่ก็พบว่า การมีข้อคำถามที่มีจำนวนมากในแบบสอบถามอาจทำให้ผู้ตอบแบบสอบถามเกิดความสับสนและเหนื่อยล้าในการตอบซึ่งนำไปสู่การตอบแบบสอบถามอย่างไม่ได้ใช้วิจารณญาณในทุกข้อคำถามซึ่งส่งผลต่อความคลาดเคลื่อนในการนำไปวิเคราะห์ข้อมูล วัตถุประสงค์ของบทความนี้ คือ 1) เพื่อแสดงผลการวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เมื่อข้อคำถามถูกลดจำนวนลง 2) วิธีการเลือกตัดข้อคำถามด้วยการใช้ค่าอำนาจจำแนก ซึ่งเป็นผลจากการวิเคราะห์ของนักวิจัยที่พบแนวทางในการป้องกันปัญหาดังกล่าว และรักษาไว้ซึ่งประสิทธิภาพของการวัดผล

References

สุวิมล ติรกานันท์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Crocker, L., & Algina, J. (1986). Introduction to classical and modern test theory. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Allen, M.J., & Yen, W. M. (2002). Introduction to Measurement Theory. Long Grove, IL: Waveland Press.

สุวิมล ติรกานันท์. (2551). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Murphy, M.R., & Davidshofer, C.O. (2001). Psychological testing: Principles and applications. (5th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). ค่าเฉลี่ยและการแปลความหมาย. ข่าวสารวิจัยทางการศึกษา, 18 (3), 8 -11.

Cohen, R.J., & Swerdlik, M.E. (2005). Psychological testing and assessment: An introduction to tests and measurement. (6th ed.). Boston: McGraw-Hill.

Nunnally, J.C., & Bernstein, I.H. (1994). Psychometric theory. (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2552). วิจัยและสถิติ : คำถามชวนตอบ. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดไอคอนพริ้นติ้ง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-05

How to Cite

เกตุสิงห์ ว. (2021). การลดจำนวนข้อในแบบวัดโดยให้มีผลต่อผลการวัดน้อยที่สุด. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 1(1), 64–69. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/73