การปรับปรุงระบบการทำงานคำขอจดแจ้งผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอัตโนมัติ กรณีศึกษา บริษัท เอ บี ซี จำกัด

ผู้แต่ง

  • สุชาดี ธำรงสุข ภาควิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ศศิวิมล สุขเกษ ภาควิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • สกาวใจ แสงไทย ภาควิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

การปรับปรุงการทำงาน, เครื่องสำอาง, การยื่นคำขอจดแจ้ง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการการยื่นคำขอจดแจ้งผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอัตโนมัติ 2) เพื่อปรับปรุงกระบวนการการยื่นคำขอจดแจ้งผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอัตโนมัติ และ 3) เพื่อจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของระบบการยื่นคำขอจดแจ้งผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางผ่านระบบอัตโนมัติ ใช้วิธีการศึกษาเวลาโดยตรง โดยหาจำนวนรอบที่เหมาะสมในการจับเวลาด้วยตาราง Maytag แล้วทำการจับเวลาเพิ่ม จากนั้นคำนวณหาเวลาปกติโดยใช้การประเมินอัตราความเร็วของ Westinghouse และทำการคำนวณหาเวลามาตรฐานในการทำงาน ใช้เทคนิค 5W1H ในการคิดวิเคราะห์การแก้ปัญหา จากนั้นนำมาปรับปรุงกระบวนการทำงานโดยใช้หลักการ ECRS พบว่า ขั้นตอนการทำงานลดลงจาก 22 ขั้นตอน เหลือ 17 ขั้นตอน เวลาที่ใช้ลดลงจาก 31,988.34 วินาที เหลือ 25,152.79 วินาที คิดเป็นร้อยละ 21.37 นอกจากนี้ผู้วิจัยได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานขึ้น พบว่ามีความผิดพลาดลดลงจากร้อยละ 14.14 เหลือร้อยละ 5.71

References

บริษัท มามา เทรดดิ้ง จำกัด. (2560). ความหมายของ อย.. mamafreshly. https://www.mamafreshly.com

Blue System and Service. (2560). ทำไมสินค้าต้องมี อย.. bluesystemandservice. https://bluesystemandservice.co.th

วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์. (2559). คู่มือผู้ประกอบการ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

กลุ่มกำกับดูแลเครื่องสำอางออกสู่ตลาด สํานักควบคุมเครื่องสําอางและวัตถุอันตราย. (2559). หลักเกณฑ์การพิจารณาการจดแจ้ง เครื่องสำอาง. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

พิชญา. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมระดับ 4 ดาว ย่านสยามสแควร์ [วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธีทัต ตรีศิริโชติ. (2557). การกำหนดค่าเผื่อและการคำนวณเวลามาตรฐาน. slideshare. https://www.slideshare.net

กัญจน์รัตน์ และพิชานัน. (2557). การจัดทำคู่มือคำศัพท์และการสื่อสารภาษาญี่ปุ่นในที่ทำงาน [ปริญญานิพนธ์สาขาภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์]. มหาวิทยาลัยสยาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-05