คุณลักษณะของพนักงานที่ส่งผลต่อเลิกจ้างงานในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ

ผู้แต่ง

  • วิยดา เรืองสกุลชัย บริษัท แอคมี่ การ์เมนท์ จำกัด
  • สร้อยมาศ มิตรอารีย์ กรมขนส่งอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
  • สุกิจ กรรณแก้ว บริษัท โยเนะเด็น (ประเทศไทย) จำกัด

คำสำคัญ:

คุณลักษณะ, พนักงาน, การเลิกจ้างงาน, วิกฤติเศรษฐกิจ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารต่อคุณลักษณะของพนักงาน ด้านปัจจัยส่วนบุคคล ด้านการปฏิบัติงาน ด้านทักษะในงาน และด้านวินัยในการทำงานที่ส่งผลต่อการเลิกการจ้างงานในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและผู้จัดการฝ่ายผลิตที่ปฏิบัติงานในเขตประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-test และค่า F-test ผลการศึกษา พบว่า เกณฑ์สำคัญในการพิจารณายกเลิกการจ้างงาน ได้แก่ ระดับเงินเดือนของพนักงาน รองลงมา ได้แก่ อายุ ผลการศึกษาคุณลักษณะของพนักงาน ที่ส่งผลต่อการเลิกการจ้างงาน ในด้านการปฏิบัติงานเรียงลำดับจากน้อยไปมาก ได้แก่ 1) ผลการประเมินงานรวมอยู่ระดับต่ำ 2) มีอัตราของเสียจากการปฏิบัติงานเกินกว่าที่กำหนด 3) ปฏิบัติตามข้อกำหนดเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน 4) ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จตามเวลาที่กำหนด 5) ปฏิบัติงานได้จำนวนชิ้นงานตามที่กำหนด ในด้านทักษะการปฏิบัติงานเรียงลำดับจากน้อยไปมาก ได้แก่ 1) ปฏิบัติงานตามคู่มือ 2) พัฒนาและปรับปรุงงานให้ดีขึ้นได้ 3) ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีคุณภาพ 4) อธิบายงานได้ถูกต้องชัดเจน 5) เชี่ยวชาญในงานที่ปฏิบัติ และในด้านวินัยในการทำงานเรียงลำดับจากมากมาน้อย ได้แก่ 1) มีพฤติกรรมยั่วยุ ส่งเสริมก่อให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยงาน 2) ละทิ้งหน้าที่ความรับผิดชอบ 3) ไม่ดูแลทรัพย์สินบริษัท 4) ทำงานผิดพลาด 5) ดื่มสุรา 6) ทะเลาะวิวาท 7) เล่นการพนัน และ 8) มาทำงานสาย ตามลำดับ ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและผู้จัดการฝ่ายผลิตมีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะของพนักงานที่ส่งผลต่อการเลิกการจ้างงาน ในด้านการปฏิบัติงานของพนักงานไม่แตกต่างกัน ในด้านทักษะการปฏิบัติงานของพนักงาน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันในทุกด้านยกเว้นในด้านพนักงานสามารถพัฒนาและปรับปรุงงานให้ดีขึ้นได้ ส่วนในด้านวินัยในการทำงานของพนักงาน พบว่า มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันในทุกด้าน

References

วิชชุดา ชาญณรงค์. (2552,19 มกราคม).“อยุธยาจ่อว่างงานนับแสนเล็กทรอนิกส์ชิ้นส่วนยานยนต์ป่วนลามธุรกิจหอพักอสังหาฯ-ค้าปลีก”.ประชาติธุรกิจ,23

ธนิต โสรัตน์. (2552). ยุทธศาสตร์การปรับตัวภายใดวิกฤติเศรษฐกิจถดถอย.www.ianitsorat.com

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงาน. (2552). มาตรการและแนวทางบรรเทาปัญหาการเลิกจ้าง. www.labour.go.th/abourrelation/doclr1 .pdf

ศรายุทธ ทองอร่าม. (2551). ผลกระทบของปัญหาซับไพร์มต่อเศรษฐกิจไทย. www.fti.or.th/2008/thai/ftitechnicalsubdetail.aspx.

อัจฉรา วงษ์วานิช. (2552). การบริหารทรัพยากรบุคคลในช่วงก่อนและหลังสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจศึกษาเฉพาะกรณี กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ขนาดย่อม. http://www.thaihrhub.com/index.php/archives/researchview/research-581

ดิลก ถือกล้า. (2552). ภาวะผู้นำของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาวะวิกฤติขององค์กร. http://www.atci.org /news.php?news=data3.html

ธนนุช ตรีทิพยบุตร. (2551,30 ธันวาคม).“คาดอีก 6 เดือน แรงานยังถูกปลดอีก”. มติชนรายวัน,5

ธนรัตน์ วรินทรเวช. (2552). การขานรับนโยบายการบริหารงานบุคคลของพนักงานในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ : ศึกษาเฉพาะกรณีบริษัท ไมโครนติค จำกัด (มหาชน). http://www.thaihrhub.com/index.php/archives /research-view/research-571.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550). “วางคนให้ถูกที่...ทวีคูณผลงาน”. www.pharm.su.ac.th/thai/teaching/550515

ปิยะมาศ เอมกลิ่นบัว. (2541). การบริหารจัดการองค์การและทรัพยากรมนุษย์ในภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2551). การวางแผนกำลังคน.บุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 1). www.med.cmu.ac.th/secret/planning/data1/work2.ppt

โสรัจ จตุรทิศ. (2543). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างบริษัทไทย ญี่ปุ่นและ สหรัฐอเมริกาในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Chiraprapha, Wattanapong. (2000). The Relationship between Factors Impacted by the Current Economic Crisis and Human Resource Development Roles and Functions in Thailand.Thesis submitted to The Faculty of Graduate School. The University of Minnesota.

อำนวย ถาวร. (2547). หน่วยที่ 8 : การคัดเลือกบุคลากร.http://krusart.rru.ac.th/eLearning/amnuay/amnuy 1/8-2-1. html

พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2552). Crisis Management ฝ่ามรสุมด้วยกลยุทธ์สื่อสาร.www.bangkokbiznews.com

ธงชัย สันติวงษ์. (2551,30 กันยายน). องค์การฝ่าวิกฤติได้ด้วยการออกแบบ. http://www.bangkokbiznews.com /2008/09/30/news_298760.php

Asian Development Bank. (2020). AEC GDP 2020. https://www.adb.org/

Dessler. (2019) Human Resources Management. (25th ed.). Pearson Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-05

How to Cite

เรืองสกุลชัย ว., มิตรอารีย์ ส., & กรรณแก้ว ส. (2021). คุณลักษณะของพนักงานที่ส่งผลต่อเลิกจ้างงานในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 1(1), 32–40. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/64