อิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงานและความพึงพอใจในงานที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานโรงแรมใน จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ลัดดาพร กุลแก้ว ภาควิชาการจัดการธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ปัททมา สุริยกุล ณ อยุธยา ภาควิชาการจัดการธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ธนินท์ ตรีรสวัสดิชัย ภาควิชาการจัดการธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

สภาพแวดล้อมในการทำงาน, ความพึงพอใจในงาน, ความผูกพันต่อองค์การ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงานและความพึงพอใจในงานที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานโรงแรมในจังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานโรงแรมในจังหวัดนครพนม จำนวน 450 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ความพึงพอใจในงานส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานโรงแรม ในจังหวัดนครพนม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐานที่ 0.664 สภาพแวดล้อมในการทำงานด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาในที่ทำงานมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในงานมากที่สุด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐานที่ 0.338 ความพึงพอใจในงานด้านความพึงพอใจต่อระบบการทำงานมีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การมากที่สุด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐานที่ 0.249 สภาพแวดล้อมในการทำงานด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาในที่ทำงานมีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การมากที่สุด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐานที่ 0.239 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ทำให้องค์การต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยดังกล่าวเพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์การของพนักงานในระยะยาวต่อไป

References

สำนักงานสถิติจังหวัดนครพนม. (2563). ข้อมูลโรงแรมในจังหวัดนครพนม. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/home.aspx

Chandrasekar, K. (2011). Workplace Environment and Its Impact on Organizational Performance in Public Sector Organizational. International Journal of Enterprise Computing and Business Systems, 1(1), http://www.ijecbs.com/January2011/N4Jan2011.pdf

Gilmer, B., & V. Haller. (1971). Industrial and Organizational Psychology. McGraw-Hill.

Allen, N.J., & J.P Meyer. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance, and normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology, 63(1), 1-18.

Hair, J., W.Black., & B. Babin. (2010). Multivariate data analysis: A Global Perspective. (7th ed.). Pearson Education.

สลักจิต ตันติบุญทวีวัฒน์ และ คัคนางค์ มณีศร. (2556). อิทธิพลของความเป็นส่วนหนึ่งในงาน ความพึงพอใจในงานและความผูกพันกับองค์การ ต่อความตั้งใจลาออก. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(3), 699-717.

Ahmad, A.T., & S. Taghrid. (2015). The Mediating Role of Job Characteristics in the Relationship between Organizational Commitment and Job Satisfaction. International Journal of Business and Management, 10(9), 215-222.

Zainudin, M.L., F.H, Hasan. & A.K, Othman. (2019). Halal brand personality and brand loyalty among millennial modest fashion consumers in Malaysia. Journal of Islamic Marketing, 11(6), 985-994.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-05