การศึกษาปัจจัยองค์กรด้านกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สุภาวดี นามมนตรี ฝ่ายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

คำสำคัญ:

ปัจจัยองค์กร, กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม(CSR), พฤติกรรมการมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยองค์กรด้านกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) 2) พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของพนักงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ประชากร ได้แก่ พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-test, และ One-way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า ระดับปัจจัยองค์กรด้านกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) อยู่ในระดับมาก 3 อันดับแรก ได้แก่ องค์กรมีพันธกิจตามวิสัยทัศน์ นโยบายและแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน องค์กรมีบุคลากรภายนอกสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรม และองค์กรเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางในการจัดกิจกรรม อันดับสุดท้าย ได้แก่ องค์กรมีการสำรวจความคิดเห็นของพนักงานเกี่ยวกับกิจกรรม พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของพนักงานอยู่ในระดับปานกลาง 3 อันดับแรก ได้แก่ การให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรม การมีโอกาสรู้จักเพื่อนร่วมงานในองค์กรจากการเข้าร่วมกิจกรรม และการใช้เวลาในการทำงานประจำให้กับกิจกรรม อันดับสุดท้าย ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์วัดความสำเร็จตามเป้าหมายของกิจกรรม พนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันมีความคิดเห็นในปัจจัยองค์กรด้านความรับผิดชอบต่อสังคมไม่แตกต่างกัน พนักงานที่มี เพศ อายุ อายุงานต่างกัน มีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์กรไม่แตกต่างกัน พนักงานที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์กรต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

Chainapong, A., Choaniyom, W., & Kijpredarborisuthi, B. (2016). Motivational Factors to Volunteer Spirit on Public Health Activities among Formal Community Leaders in Chonburi Province. The Public Health Journal of Burapha University, 11(2), 64–75. (in Thai).

Limpimprorh, N. (2015). Attitude and Behavior in Corporate Social Responsibility (Csr) Participation of Social Department of Electricity Generating Authority of Thailand Officers [Independent Study Unpublished]. Thammasat University. (in Thai).

Maitong, O., Phra Suthirattanabundut & Phra Debvajaracarya. (2021). The Process of Enhancing the Volunteering Spirit and Social Responsibility of the International Youths. Journal of Graduate Studies Review, 17(3), 1–18. (in Thai).

Chaiprakarn, S. (2015). Factors Affecting Participation in Corporate Social Responsibility (CSR) Related to Environment and Safety Activities of Worker: A Case Study of Power Plants in Saraburi Province. [Independent Study Unpublished]. Thammasat University. (In Thai).

Vongmonta, A. (2010). Factors Affecting Towards Public Mind of Prince of Songkla University’s Students. [Master’s thesis, Prince of Songkhla University]. http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/7012 (in Thai).

Kampan, A., Sakulku, J., Phothisookand, A., & Phutiariyawat, J. (2014). A Study of Factor Analysis of Public Consciousness of University’s Students in Bangkok Area. Journal of Social Sciences Srinakharinwirot University, 18, 299–313. (in Thai).

Prapanpot, N., & Jadesadalug, V. (2016). The Participate on Corporate Social Responsibility Activities of Employee Unilever Thai Holdings Company Limited. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(1), 1224–1241 (in Thai).

Chonlatit Juntikakaew. (2018). Employee Perception Towards Corporate Social Responsibility Activity : A Case Study of Krasaesinkarnyotha Limited Partnership. [Unpublished Master’s thesis]. Prince of Songkhla University. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-04

How to Cite

นามมนตรี ส. (2023). การศึกษาปัจจัยองค์กรด้านกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 3(2), 81–95. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/171