ปัจจัยด้านการประกอบการขององค์กรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงานในธุรกิจการผลิตระบบนิวเมติกส์อัตโนมัติ : กรณีศึกษา บริษัท เอส.เอ็ม.ซี. (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้แต่ง

  • ศรัทธาพล จินชัย ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • จุฑารัตน์ ปิณฑะแพทย์ ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

ปัจจัยการประกอบการ, องค์กร, พฤติกรรมการทำงาน, ระบบนิวเมติกส์อัตโนมัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการรับรู้เกี่ยวกับปัจจัยการประกอบการขององค์กรธุรกิจการผลิตระบบนิวเมติกส์อัตโนมัติของบริษัท เอส.เอ็ม.ซี (ประเทศไทย) จำกัด 2) พฤติกรรมการทำงานของพนักงานในธุรกิจการผลิตระบบนิวเมติกส์อัตโนมัติ ของ บริษัท เอส.เอ็ม.ซี (ประเทศไทย) จำกัด 3) ปัจจัยการประกอบการขององค์กรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงานในธุรกิจการผลิตระบบนิวเมติกส์อัตโนมัติของบริษัท เอส.เอ็ม.ซี (ประเทศไทย) จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พนักงานในบริษัท เอส.เอ็ม.ซี (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 167 คน ด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการทำงาน 10 ปีขึ้นไป ระดับการรับรู้เกี่ยวกับปัจจัยการประกอบการขององค์กรโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผลประกอบการที่เพิ่มขึ้น พฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านพฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือ และปัจจัยการประกอบการขององค์กรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงาน พบว่า ปัจจัยการประกอบการขององค์กรในด้านผลประกอบการที่เพิ่มขึ้น ด้านการลดต้นทุนการผลิต ด้านการส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร และด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

Spector. P. E. (1996). Industrial and Organizational Psychology. Research and Practice. New York: John Wiley & Sons. Inc.

Organ. D. W. (1988). Organizational Citizenship Behavior. The Good Soldier Syndrome. Lexington: Lexington Books.

Naveekarn, S. (2006). Management and organizational behavior (3rdnd.). Bangkok : Bannakit. (in Thai).

Kraesuntorn, S. (2011). The Study of Factors Related to Good Organizational Membership Behavior of Government Officials, Academic Office (Research report). Office of the Secretariat of the People's Representatives. (in Thai).

Organ. D.W., & T. S. Bateman. (1991). Organizational Behavior. (4thed.). IL: Irwin.

Organ. D.W., Podsakoff. P.M. & MacKenzie. S.B. (2006). Organizational Citizenship Behavior : Its Nature. Antecedents. And Consequences. USA : Sage.

Maneepraipan, R. (2006). Factors Affecting Employee Performance Efficiency, UR Chemical Co., Ltd. [Independent Study Unpublished]. Burapha University. (in Thai).

Krejcie. Robert V., & Morgan. Daryle W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.

Siljaru, T. (2014). Study and Statistical Analysis Using SPSS. Bangkok : V Interprint Bangkok. (in Thai).

Thitikunrat, K. (2013). The Staff Performance Efficiency of Employees in Sunshine International Company Limited. [Unpublished Master’s thesis]. Rambhai Barni Rajabhat University. (in Thai).

Komsomnuk, W., & Attharangsun, N. (2021). The Effect of Corporate Image on Trust of Members in Kalasin Public Health Savings Cooperative Limited. [Master’s thesis, Mahasarakham University]. http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1198. (in Thai).

Eakpanich, L., Yawila, L., & Sittioum, R. (2020). Organizational Citizenship Behavior and Organizational Commitment with Affected to Performance Efficiency of Naresuan University Service Staff. Humanities and Social Sciences Journal of Graduate School, Pibulsongkram Rajabhat University, 14(1), 175–193. (in Thai).

Onkeaw, W. (2011). Organizational Citizenship Behavior : Case Study Officers of Office of The Teacher Civil Service and Education Personnel Commission. [Master’s thesis, Silpakorn University]. https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/13417. (in Thai).

Pai boon, S. (2011). Factors Relating Work Behavior of Employees in 3G Mobile Phone Technology Division TOT Public Company Limited, Headquarters. [Independent Study Unpublished]. Rajamangala University of Technology Thanyaburi. http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1148. (in Thai).

Chantrawan, P. (2010). Factors Affecting the Organizational Continuity of Dan Chang Hospital. [Independent Study Unpublished]. Kasetsart University. (in Thai).

Pho-On, P. (2007). Efficiency in Employee Performance, Viriya Supply Co., Ltd. [Unpublished Master’s thesis]. Phranakhon Rajabhat University. (in Thai).

Kittipongwarakarn, W. (2020). Factors Affecting Work Efficiency of a State Enterprise Employees. [Unpublished Master’s thesis]. Srinakharinwirot University. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-04

How to Cite

จินชัย ศ., & ปิณฑะแพทย์ จ. (2023). ปัจจัยด้านการประกอบการขององค์กรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงานในธุรกิจการผลิตระบบนิวเมติกส์อัตโนมัติ : กรณีศึกษา บริษัท เอส.เอ็ม.ซี. (ประเทศไทย) จำกัด. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 3(2), 57–69. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/169