การศึกษาทักษะทุนชีวิตของบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพ

ผู้แต่ง

  • ประชา ตันเสนีย์ อาจารย์พิเศษ โครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • อภิศักดิ์ หนูชูไชย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน บริษัท ธนิยะ กรุ๊ป จำกัด
  • กันยา สรรพกิจโกศล นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

ทักษะทุนชีวิต, การประสบความสำเร็จในอาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะทุนชีวิตของบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ประสบความสำเร็จในอาชีพ 2) พัฒนารูปแบบทักษะทุนชีวิตของบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพ วิธีดำเนินการวิจัยใช้เทคนิคเดลฟาย โดยสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน ซึ่งได้พิจารณาคัดเลือกข้อคิดเห็นที่ค่ามัธยฐานตั้งแต่ระดับมากขึ้นไป (Md. >3.50) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ น้อยกว่า 1.50 ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ผลการศึกษา พบว่า ทักษะทุนชีวิตของบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Md.=4.11) และพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ ดังนี้ 1.ด้านการมีความสามารถทางทักษะดิจิทัล (Md.=4.33) 2.ด้านการมีทักษะทางอารมณ์และสังคม (Md.=4.15) และ 3.ด้านการมีทักษะการรู้หนังสือ ซึ่งครอบคลุมถึงการอ่านเพื่อความเข้าใจและการประยุกต์ใช้ความรู้กับสถานการณ์จริง (Md.=3.91) 2. ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความเห็นในการพัฒนารูปแบบทักษะทุนชีวิตของบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพ คือ การมีความสามารถทางทักษะดิจิทัล ให้มีความรู้ในการจัดเก็บและจัดการไฟล์ข้อมูลในรูปแบบที่เป็นระเบียบและปลอดภัยได้ โดยต้องสามารถใช้งานด้านซอฟต์แวร์พื้นฐาน เช่น ระบบปฏิบัติการ โปรแกรมจัดการเอกสาร รวมถึงการมีทักษะทางอารมณ์และสังคม ในการเรียนรู้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเช่น การฟังอย่างตั้งใจและการพูดในลักษณะที่สุภาพและเคารพผู้อื่น อันเป็นพื้นฐานของพัฒนารูปแบบทักษะทุนชีวิตของบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพ ทั้งนี้ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้ง 3 คน ได้พิจารณาการพัฒนารูปแบบนี้ เห็นว่ามีความสอดคล้องเหมาะสมตรงตามเนื้อหา และ มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จได้จริง

References

The Equitable Education Fund. (2024). Fostering Foundation Skills in Thailand. https://www.eef.or.th/publication-asat/ (In Thai)

Thairath Online. (2024, April 28). Observing Thai Reading Habits: Reading More Than 8 Lines Per Year, Printed Books Surpass E-Books in Popularity. https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2777047 (In Thai)

Thai Publica. (2024, January 31). Corruption Perceptions Index 2023: Thailand Ranks 108th. https://thaipublica.org/2024/01/corruption-perception-index-2023/ (In Thai)

Office of the National Economic and Social Development Council. (2024). Master Plan Under the National Strategy (21): Anti-Corruption and Misconduct (2018–2037). http://nscr.nesdc.go.th/ (In Thai)

Sangsuk, R. (2011). Knowledge and Morality (RU100). http://old-book.ru.ac.th/e-book/r/RU100(H)54/RU100-4.pdf/974-593-831-9 (In Thai)

Equitable Education Fund. (2023). Presentation of International Case Studies on The Development of Foundational Skills and Their Roles at The Provincial Level. https://en.eef.or.th/2023/06/13/nurturing-foundational-skills-for-economic-and-social-progress/

UNESCO. (2024). What Is the Global Situation in Relation to Literacy? https://www.unesco.org/en/literacy/need-know

Paowanit, W. (1978, October 6). Understanding Digital Skills: What Are They? Why Are They the Future Essential Skills for The Younger Generation with Warisorn Paowanit. https://techsauce.co/connext/career-insight/digital-skills (In Thai)

True Digital Academy. (2021, April 30). Digital Skills: A Crucial Step Towards the Future. https://www.truedigitalacademy.com/blog/ทักษะด้านดิจิทัล-digital-skills-ก้าว (In Thai)

Khanachang, S. (2023, December 5). What Is Social and Emotional Learning (SEL)? What Are Its Key Competencies? https://selminder.com/knowledge-hub/what-is-social-and-emotional-learning/ (In Thai)

Jobsdb. (2023, July 23). Emotional Intelligence: A Key Skill Every Leader Must Have. https://th.jobsdb.com/th/career-advice/article/ความฉลาดทางด้านอารมณ์ (In Thai)

Tapin, A. (n.d.). Knowledge and morality. https://www.mcutak.com/default.asp?content=contentdetail&id=23472 (In Thai)

Nakkrasae, S. (2020, November 24). Meet the RAM1000 lecturer: Learning in alignment with identity to cultivate graduates with knowledge and morality. https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3574920185864651&id=206233619400008&set=a.206242226065814 (In Thai)

Pinyopanuwat, R. (2017). Factors influencing component of literacy and reading competency for the 21st century. Sukhothai Thammathirat Open University Journal, 30(2), 21–35. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/stouj/article/download/206669/143666/640895 (In Thai)

Guntha, P. (2021). Emotional intelligence affecting quality of life of merchant marine cadets at Merchant Marine Training Centre. Silpakorn Educational Research Journal, 13(2), 38–52. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/250623/173012 (In Thai)

Adecco Thailand. (2024, May 13). White paper: Leading through the great disruption. https://bit.ly/4dWjgbJ (In Thai)

Adlawan, D. (2023, November 1). Advantages and disadvantages of artificial intelligence in education and its impact on teachers in 2023. https://www.classpoint.io/blog/th/ข้อดีและข้อเสียของ-ai-ในก (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-29

How to Cite

ตันเสนีย์ ป., หนูชูไชย อ., & สรรพกิจโกศล ก. (2025). การศึกษาทักษะทุนชีวิตของบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพ. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 5(1), 93–104. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/1419