การลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักรในกระบวนการเปลี่ยนขนาดบรรจุภัณฑ์

ผู้แต่ง

  • ศุภกร เจริญประสิทธิ์ ภาควิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ชวลีย์ อ่อนเขตร์ ภาควิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • เกษมณี ลี้เจริญสุข ภาควิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

การลดเวลา, การปรับตั้งเครื่องจักร, การเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์, กระบวนการ

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางในการลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักรในกระบวนการเปลี่ยนขนาดบรรจุภัณฑ์ และ 2) เพื่อปรับปรุงกระบวนการเพื่อลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักรในกระบวนการเปลี่ยนขนาด บรรจุภัณฑ์ การวิจัยในครั้งนี้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับ วิศวกรฝ่ายควบคุมการผลิต ช่างเทคนิคฝ่ายซ่อมบำรุง และพนักงานผู้ควบคุมเครื่องจักร ผลการวิเคราะห์พบว่าในกระบวนการเปลี่ยนขนาดบรรจุภัณฑ์ใช้เวลาในการปรับตั้งเครื่องจักรนาน ผู้วิจัยได้นำหลักการ SMED มาใช้ในการปรับปรุงและกำจัดขั้นตอนที่เป็นการปรับตั้งเครื่องจักรที่อยู่ภายในออกและนำหลักการ ECRS มาทำการปรับปรุงขั้นตอนในการทำงานในการปรับตั้งเครื่องจักร โดยการจัดทำเครื่องมือช่วยในการทำงานในกระบวนการเปลี่ยนขนาดบรรจุภัณฑ์ ผลการวิจัย พบว่า ขั้นตอนในกระบวนการเปลี่ยนขนาดบรรจุภัณฑ์ลดลงจาก 22 ขั้นตอนเหลือ 21 ขั้นตอน และเวลาที่ใช้ในกระบวนการเปลี่ยนขนาดบรรจุภัณฑ์ลดลงจาก 3,044.81 วินาทีเหลือ 2,695.30 วินาที ซึ่งสามารถลดเวลาลงไปได้ 349.51 วินาที หรือคิดเป็นร้อยละ 11.48 การใช้หลักการ SMED และหลักการ ECRS สามารถลดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับตั้งเครื่องจักรในกระบวนการเปลี่ยนขนาดบรรจุภัณฑ์ได้

References

Black JT. (2000). SMED (Single Minute Exchange of Die) Methodologysmed. Encyclopedia of Production and Manufacturing Management. Boston, MA: Springer US, 713-6.

Coccia, M. (2017). The Fishbone Diagram to Identify, Systematize and Analyze the Sources of General-Purpose Technologies. Journal of Social and Administrative Sciences, 4(4), 291-303.

Suhardi, B., Anisa, N., & Laksono, P. (2019). Minimizing Waste Using Lean Manufacturing and ECRS Principle in Indonesian Furniture Industry. Cogent Engineering, 6(1).

Sanorsieng, A. (2016). Reducing the Machine Set-Up Time in Unloader Line Production [Unpublished doctoral dissertation]. Burapha University.

Ratchawut, N., Vongyuttakrai, P., & Sukwan O. (1012). Design and Construction of Engine Parts Oil Cleaning Machine. Journal of Science and Technology, 7, 73-90.

Pitayanon, C., & Pattanawasanporn, P. (2017). Roller Changing and Setup Time Reduction of Plastic Sheet Extruder Using SMED Technique. Proceedings of the 2nd RMUTP Conference of Engineering and Technology, Bangkok, Thailand.

Luesak, P., & Sanguanpang, S. (2017). Process Improvement of Separating Seeds Roselle Using ECRS Technique. Naresuan University Engineering Journal, 2(1), 41-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-04

How to Cite

เจริญประสิทธิ์ ศ., อ่อนเขตร์ ช., & ลี้เจริญสุข เ. (2023). การลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักรในกระบวนการเปลี่ยนขนาดบรรจุภัณฑ์. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 2(2), 32–45. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/129