ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียต่อการจ้างผู้ตรวจสอบภายในจากบุคคลภายนอก

ผู้แต่ง

  • สุรภา ไถ้บ้านกวย สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ประชา ตันเสนีย์ สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เดชาพันธ์ รัฐศาสนศาสตร์ สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วัลลภ ฤทธิม์ บัวชุม สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

ความคาดหวัง, ผู้มีส่วนได้เสีย, ผู้ตรวจสอบภายใน, การจ้างบุคคลภายนอก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียต่อการจ้างผู้ตรวจสอบภายในจากบุคคลภายนอก 2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีสัมพันธ์กับความคาดหวังในการจ้างผู้ตรวจสอบภายในจากบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ สมาชิกของสมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก โดยใช้โปรแกรม G* Power 3.1.9.2 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อการจ้างผู้ตรวจสอบภายในจากบุคคลภายนอก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในสอดคล้องกับกรอบการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายในที่เป็นสากลของ IIA รองลงมาคือ ด้านพันธกิจ กลยุทธ์ และรูปแบบธุรกิจ และด้านการประสานงานกับหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับงานบริหารความเสี่ยง และงานตรวจสอบภายใน ตามลำดับ 2) การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังในการจ้างผู้ตรวจสอบภายในจากบุคคลภายนอก พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับความคาดหวังในการจ้างผู้ตรวจสอบภายในจากบุคคลภายนอก ได้แก่ ด้านพันธกิจ กลยุทธ์และรูปแบบธุรกิจ ด้านการประเมินความเชื่อมั่นเพื่อสร้างคุณค่า และด้านการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในสอดคล้องกับกรอบการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายในที่เป็นสากลของ IIA อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

References

Birkett, W. P., Barbera, M. R., Leithhead, B. S., Lower, M., & Roebuck, P. J. (1999). Competency: Best Practices and Competent Practitioners. Altamonte Springs, Florida: Institute of Internal Auditors Research Foundation.

Barac, K., & Motubatse, K. N. (2009). Internal Audit Outsourcing Practices in South Africa. African Journal of Business Management, 3(13), 969-979.

Elmuti, D. (2003). The Perceived Impact of Outsourcing on Organizational Performance. Mid-American Journal of Business, 18, 33-41.

Goodwin, J., & Yeo, T. Y. (2001). Two Factors Affecting Internal Audit Independence and Objectivity: Evidence from Singapore. International Journal of auditing, 5(2), 107-125.

Rittenberg, L., & Covaleski, M. A. (2001). Internalization Versus Externalization of The Internal Audit Function: An Examination of Professional and Organizational Imperatives. Accounting, Organizations and Society, 26(7-8), 617-641.

ไทยพับลิก้า. (2020, 5 พฤศจิกายน). “ประสาร ไตรรัตน์วรกุล” ชี้ Massive disruption “เมื่อปัญหาคนตัวเล็กที่ไม่เล็ก” จะสู้ให้รอดอย่างไร. Thaipublica. https://thaipublica.org/2020/11/massive-economic-disruption/

สุรภา ไถ้บ้านกวย ประชา ตันเสนีย์ และอนุรักษ์ ไกรยุทธ. (2562). บทบาทของผู้ตรวจสอบภายในจากบริษัทหรือบุคคลภายนอกยุคไร้พรมแดน. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2(2), 48-63

Galanis, A., & Woodward, D. G. (2006). A Greek Perspective on The Decision to Outsource or Retain the Internal Audit Function. Journal of Applied Accounting Research, 8(1), 1-71.

ชิษณุกร พรภาณุวิชญ์. (2540). ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อบทบาทการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล : กรณีศึกษาจังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล.

Hornby, A. S., Ashby, M., & Wehmeier, S. (2000). Oxford Advanced Learner's Dictionary of Current English. Oxford: Oxford University Press.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2540). ทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติในการบริหารการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.

Freeman, R. B., & Medoff, J. L. (1984). What Do Unions Do. Indus. & Lab. Rel. Rev., 38, 244.

Freeman, R. E. (2010). Strategic management: A stakeholder approach. Cambridge university press.

The Institutes of Internal auditors. (2020). Voice of the Customer Stakeholders’ Messages for Internal Audit. institutes. https://institutes.theiia.org/sites/oman/resources/Documents/2016-July-CBOK-Voice-of-the-Customer.pdf

สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย. (2563). สมาชิกของสมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย. Theiiat. https://www.theiiat.or.th/Home/Main.

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical Power Analyses Using G* Power 3.1: Tests for Correlation and Regression Analyses. Behavior research methods, 41(4), 1149-1160.

Hair, J. F., Celsi, M., Ortinau, D. J., & Bush, R. P. (2010). Essentials of Marketing Research (Vol. 2). McGraw-Hill/Irwin.

พิรุฬน์ กิตติเดชปรีชา และปิยะนุช สุจินตารัตน์. (2564, 14 พฤษภาคม). ความเสี่ยงจากการใช้งานผู้ให้บริการภายนอก ‘Outsourcing’.bangkokbiznews .https://www.bangkokbiznews.com/news/937863

Framework for Internal Auditing (CFIA). (1999). The Institute of Internal Auditors Research Foundation Three volumes.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-04