แนวทางการปรับรูปแบบธุรกิจยุคเศรษฐกิจดิจิทัลของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย(SMEs)

ผู้แต่ง

  • บุญเชิด บุตรอินทร์ ดร.ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ธัชชพันธ์ ศิริเวช ดร.ที่ปรึกษากระทรวงการคลัง หมายเลข 2073 อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาขีดความสามารถในการปรับรูปแบบธุรกิจ และ กำหนดแนวทางในการปรับรูปแบบธุรกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (SMEs) ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลภายใต้ขีดความสามารถของธุรกิจ เนื่องจากความไม่ชัดเจนของแนวทางการพัฒนาธุรกิจและการมีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด มีผลทำให้การปรับรูปแบบธุรกิจและความสามารถในการลงทุนของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อช่วยเพิ่มระดับขีดความสามารถในการปรับรูปแบบธุรกิจ และหาแนวทางในการปรับรูปแบบธุรกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการวิจัย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้บริหารระดับสูงของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย จำนวน 200 ตัวอย่าง เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการวิจัย พบว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจช่วยสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งผลกระทบต่อทิศทางการดำเนินกิจการด้านขีดความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการพัฒนาธุรกิจ เพื่อความอยู่รอดและการเติบโตของธุรกิจ โดยมีผู้บริหารและเจ้าของกิจการให้ความสำคัญระดับมาก เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานธุรกิจให้เป็นมาตรฐาน โดยมุ่งสร้างการเติบโตของธุรกิจเพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนธุรกิจ สำหรับประเด็นแนวทางปรับรูปแบบธุรกิจผู้บริหารและเจ้าของกิจการให้ความสำคัญในระดับปานกลางเพื่อการสร้างผลกำไรธุรกิจ โดยมีการประยุกต์เทคโนโลยีธุรกิจเพื่อกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจและใช้พื้นฐานดิจิทัลธุรกิจ พร้อมกับการสร้างพันธมิตรธุรกิจและให้ความสำคัญระดับน้อยในการสร้างผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจแบบออนไลน์ ทั้งนี้การนำแนวทางปรับรูปแบบธุรกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจและการปรับผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจ สรุปผลการวิจัย การปรับรูปแบบธุรกิจจากการกำหนดแนวทางพัฒนาให้เกิดผลเชิงประสิทธิภาพ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้ความสำคัญกับการปรับกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกำกับกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ขณะที่ประเด็นการสร้างพันธมิตรธุรกิจจากการใช้เทคโนโลยีทางด้านออนไลน์และเทคโนโลยีธุรกิจการให้ความสำคัญยังไม่มากพอที่จะทำให้เกิดการลดต้นทุนและเวลาที่ใช้ในการดำเนินงาน ส่งผลต่อความเสี่ยงและความเสียหายจากการดำเนินกิจการ

References

Kongpetdit, C. & Chantuk, T. (2016). Change Management: Role of Leadership and Organizational Communication. Veridian E-Journal. Silpakorn University, 9(1), 895-919.

Dave Chaffey. (2015). Digital business and E-commerce management strategy implementation and practice. (6th ed.). Pearson.

Daft R. L. (2008). New Era of Management. (2nd ed.). China Translation and Printing Services.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). (2563, 9 มีนาคม). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรายเดือน มกราคม 2563. https://www.sme.go.th/th/download.php?modulekey=215

วันชัย มีชาติ. (2556). พฤติกรรมการบริหารองค์กรสาธารณ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Jone, o., & Tilley, F. (2003). Competitive advantage in SME: Towards a conceptual framework. John Wiley & Sons.

M. Hasan. Harris (2009). Entrepreneurship and Innovation in e-Commerce, Journal of Achievements in Materials and Manufacturing Engineering. 32(1), 92-97.

Yilmaz S., Ozgen H., and Akyel R. (2013). The impact of change management on the attitudes of Turkish security managers towards change. Journal of Organizational Change Management. 26(1), 117-138.

Ash, P. (2009). Fast and Effective Change Management. Asian Development Bank. 1-5.

Aslana S., Diken A., & Sendoqduc A. A. (2011). Investigation of the Effects of Strategic Leadership on Strategic Change and Innovativeness of SMEs in a Perceived Environmental Uncertainty. Procedia Social and Behavioral Sciences, 24(2011), 627–642.

Schermerhorn, John R. (2005). Management. (8th ed.). John Wiley & Sons.

Baron, Robert A. & Tang, Jintong. (2011). The role of entrepreneurs in firm-level innovation: Joint effects of positive affect, creativity, and environmental dynamism. Journal of Business Venturing, 26(1), 49-60.

Self, D. R., Armenakis, A. A., & Schraeder, M. (2007). Organizational change content, process and context: A simultaneous analysis of employee reactions. Journal of Change Management, 7(2), 211–229.

Higgs, M. J. & Rowland, D. (2011). What does it take to implement change successfully? A study of the behaviors of successful change leaders. Journal of Applied Behavioral Science 47(3), 309–335.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory statistic, (2nd ed.). Harper & Row.

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (2563, 9 มีนาคม). คู่มือการสมัครรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2563. https://www.dip.go.th/th/category/news/2020-02-17-16-25-53

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-04

How to Cite

บุตรอินทร์ บ., & ศิริเวช ธ. (2023). แนวทางการปรับรูปแบบธุรกิจยุคเศรษฐกิจดิจิทัลของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย(SMEs). วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 1(2), 82–93. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/Journalbid/article/view/108