การใช้แนวคิดหุ้นส่วนทางสังคมในการดำเนินโครงการขององค์การอินเตอร์เนชั่นแนล เรสคิว คอมมิตตี (ไออาร์ซี) ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • มุนา หลำหวัง หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • พงศธร จันทร์แก้ว นักสังคมสงเคราะห์อิสระ
  • นัสรูลเลาะห์ อาแว นักสังคมสงเคราะห์อาวุโส ฝ่ายคุ้มครองสิทธิและเสริมพลัง องค์การอินเตอร์เนชั่นแนล เรสคิว คอมมิตตี
  • วรัญญา เต็มรัตน์ หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

การปฏิบัติงาน, องค์การอินเตอร์เนชั่นแนล เรสคิว คอมมิตตี (ไออาร์ซี), แนวคิดหุ้นส่วนทางสังคม, สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

บทคัดย่อ

แนวคิดหุ้นส่วนทางสังคม ถือเป็นแนวคิดที่สำคัญในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการจัดสวัสดิการสังคมที่ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินโครงการขององค์การอินเตอร์เนชั่นเเนล เรสคิว คอมมิตตี หรือองค์การไออาร์ซี (International Rescue Committee: IRC) จากการนำแนวคิดหุ้นส่วนทางสังคมมาใช้ในการปฏิบัติงานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้การดำเนินโครงการส่งเสริมศักยภาพและความร่วมมือในการคุ้มครองผู้หญิง เด็ก และประชาชนกลุ่มเปราะบางจากความรุนแรงในครอบครัวและภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยมีสมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยเป็นภาคีหลักในการดำเนินงานและสนับสนุนภาคีเครือข่ายในพื้นที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหรือจัดบริการทางสังคม โดยข้อท้าทายที่ผู้ปฏิบัติงานขององค์กรได้พบเจอจากการดำเนินโครงการ ได้แก่ มุมมองความท้าทายต่อตัวโครงการและมุมมองความท้าทายท้าทายต่อผู้ปฏิบัติงานที่สะท้อนเป็นบทเรียนจากการดำเนินโครงการ องค์การไออาร์ซีได้มีแนวปฏิบัติที่ดีในการร่วมสร้างและพัฒนาคุณภาพงานบริการทางสังคมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา การเชื่อมประสานงานบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนให้เข้ามามีบทบาทในกระบวนการดำเนินงานสู่การจัดสวัสดิการสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2566). รายงานสถานการณ์สาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2567 จาก http://portal.disaster.go.th/portal/ext/nirapai/2023122518.pdf

เจน อึ้ง. (2567). 5 ตัวอย่างความท้าทายในการทำงานที่พบบ่อยที่สุดและวิธีแก้ปัญหา. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2567 จาก https://ahaslides.com/th/blog/work-challenge-examples

เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ. (2566, 4 ธันวาคม). การสะท้อนการดำเนินงานร่วมกับองค์การไออาร์ซี.

ชล บุนนาค, อรรถเศรษฐ์ จริยธรรมานุกูล, ณัฐวิคม พันธุวงศ์ภักดี, ณัชฎา คงศรี, ปาริชาติ เรืองเดช และธรรมพร สุขมี. (2561). โครงการประสานงานการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัชฎา คงศรี. (2563). จาก MDGs สู่ SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่เปลี่ยนไปเพื่อความยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2567 จาก https://www.sdgmove.com/2017/08/13/mdgstosdgs

ณัฏฐณิชย์ ศรีมาเสริม และญาดา เอื้อสมิทธ์. (2565). การประยุกต์ใช้แนวคิดการทำงานแบบ Agile เพื่อการพัฒนาระบบงาน: กรณีศึกษาสำนักงานผู้อำนวยการ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 9(2), 193-214.

นวลแพร กุลธำรง. (2565). การใช้กฎหมายอิสลามในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (เฉพาะเรื่องครอบครัวและมรดก). สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2567 จาก https://www.nsc.go.th/wp-content/uploads/Journal/article-00906.pdf

รัตติยา พนาจันทร์. (2561). การส่งเสริมประชาชนเป็นหุ้นส่วนกับรัฐในการจัดสวัสดิการสังคม (เอกสารวิชาการ). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

วนัชพร แมงสาโมง, อิลยาส มามะ และนาซือเราะ เจ๊ะดอเล๊าะ. (2565). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย กรณีศึกษาลุ่มน้ำโกลก จังหวัดนราธิวาส. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27. (น. WRE18-1 - WRE18-6). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

วิชุตา แก้วเชื้อ. (2564). การเสริมสร้างความเข้มแข็งตามแนวคิดหุ้นส่วนทางสังคมในการจัดสวัสดิการสังคมขององค์กรสาธารณประโยชน์. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 14(1), 116-134.

ศิริพร วัชชวัลคุ. (2560). ญี่ปุ่นกับความร่วมมือเพื่อการพัฒนา: นโยบายและปฏิบัติการในประเทศลุ่มน้ำโขง. กรุงเทพฯ: ศูนย์ประสานงานโครงการวิจัยเชิงนโยบาย (ด้านสถาบันการเมืองและนโยบายต่างประเทศ) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริรัตน์ จารุปกรณ์. (2560). ประสิทธิภาพในการจัดการงานสังคมสงเคราะห์ในเขตเทศบาลนครเกาะสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ศิริลักษณ์ คัมภิรานนท์ และอัญชนา ณ ระนอง. (2563). ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในจังหวัดชายแดนใต้. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 31(1), 1-16.

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ. (2566). After action review (AAR). สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2567 จาก https://www.dti.or.th/page_bx.php?lang=thai&cid=289&cno=6917&cno2=0&show

สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์. (2567). ประวัติสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2567 จาก https://swpc.or.th/history.php

สำนักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2556). แนวทางการส่งเสริมหุ้นส่วนทางสังคมในการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อนําไปสู่สังคมสวัสดิการ. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2567 จาก https://www.m-society.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web/article_attach/12782/17046.pdf

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2567). กรอบความร่วมมือระหว่างสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Forum of National Human Rights Institutions: APF). สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2567 จาก https://www.nhrc.or.th/th/asia-pacific-cooperation-framework-apf

สำนักงานศาลยุติธรรม. (2554). คู่มือหลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก (ฉบับศาลยุติธรรม). กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลยุติธรรม.

เสาวธาร โพธิ์กลัด. (2566). ถอดบทเรียนการทำงานเพื่อเสริมพลังอาสาสมัครสตรีในศูนย์ให้คำปรึกษาประจำจังหวัดและศูนย์ชุมชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้. สงขลา: สยาม พริ้นติ้ง.

หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต. (2566). คู่มือการปฏิบัติงานภาคสนามสังคมสงเคราะห์ 3. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. (2567). ถอดบทเรียนน้ำไทย ต่อจากนี้ไป เตือนภัยต้องทันเวลา. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2567 จาก https://theactive.net/news/disaster-20240226

องค์การอินเตอร์เนชั่นแนล เรสคิว คอมมิตตี. (2566). ประวัติองค์การอินเตอร์เนชั่นแนล เรสคิว คอมมิตตีและการดำเนินงานในประเทศไทย. เอกสารการประชุมเพื่อรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการส่งเสริมศักยภาพและความร่วมมือในการคุ้มครองผู้หญิง เด็ก และประชาชนกลุ่มเปราะบางจากความรุนแรงในครอบครัวและภัยพิบัติทางธรรมชาติ.

องค์การอินเตอร์เนชั่นแนล เรสคิว คอมมิตตี. (2567). รายงานผลการประเมินอาสาสมัครและศูนย์ให้คำปรึกษาเสริมพลังสตรี. เอกสารการประชุมถอดบทเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการส่งเสริมศักยภาพและความร่วมมือในการคุ้มครองผู้หญิง เด็ก และประชาชนกลุ่มเปราะบางจากความรุนแรงในครอบครัวและภัยพิบัติทางธรรมชาติ.

Bernat, G.B., Qualharini, E.L., Castro, M.S., Barcaui, A.B., & Soares, R.R. (2023). Sustainability in Project Management and Project Success with Virtual Teams: A Quantitative Analysis Considering Stakeholder Engagement and Knowledge Management. Sustainability, 15(12), 9834.

International Rescue Committee. (2024). What we do. Retrieved 20 March 2024, from https://www.rescue.org/what-we-do

ThaiNGO. (2021). Senior social worker, based in Pattani. Retrieved 20 March 2024, from https://www.thaingo.org/jobs/detail/11777

United Nation. (2024). The SDG partnerships guidebook: a practical guide to building high impact multi-stakeholder partnerships for the Sustainable Development Goals. Retrieved 20 March 2024, from https://thepartneringinitiative.org/wpcontent/uploads/2022/08/SDG-Partnership-Guidebook-1.0.pdf

Partnership 2030. (n.d.). What is an MSP?. Retrieved 20 March 2024, from https://partnerschaften2030.de/en/what-is-an-msp

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-26

How to Cite

หลำหวัง ม., จันทร์แก้ว พ., อาแว น., & เต็มรัตน์ ว. (2024). การใช้แนวคิดหุ้นส่วนทางสังคมในการดำเนินโครงการขององค์การอินเตอร์เนชั่นแนล เรสคิว คอมมิตตี (ไออาร์ซี) ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารพิพัฒนสังคม, 1(2), 1–14. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jsdrp/article/view/675