จริยธรรมการรับตีพิมพ์

จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการ (Publication Ethics)

          กองบรรณาธิการวารสารพิพัฒนสังคม ได้กำหนดจริยธรรมการตีพิมพ์ (Publication Ethics) สำหรับบรรณาธิการวารสาร (Editor) ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Reviewer) และผู้เขียน (Author) เพื่อความถูกต้องและมีคุณภาพทางวิชาการ โดยกำหนดบทบาท หน้าที่ ดังนี้

 

จริยธรรมของผู้เขียน (Author)

  • บทความที่ผู้เขียนส่งให้วารสารพิจารณา จะต้องไม่เคยส่งตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน รวมถึงไม่อยู่ในขั้นตอนต่างๆ ของวารสารอื่นเพื่อพิจารณา หากทางบรรณาธิการตรวจพบ กองบรรณาธิการขอยกเลิกการตีพิมพ์ในวารสารพิพัฒนสังคมทันที
  • ผู้เขียนหรือผู้ประพันธ์ ต้องไม่ทำการคัดลอกหรือละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานอื่น ในกรณีที่กองบรรณาธิการตรวจพบจะถูกตัดสิทธิ์ไม่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพิพัฒนสังคมทันที
  • ผู้เขียนจะต้องดำเนินการแก้ไขบทความต้นฉบับภายในระยะเวลาที่กำหนด ตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและบรรณาธิการอย่างเคร่งครัด
  • ผู้เขียนจะต้องระบุส่วนอืต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหรือให้ความช่วยเหลือ เช่น แหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยในกิตติกรรมประกาศ
  • ชื่อผู้เขียนที่ปรากฏจะต้องมีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องกับบทความนั้นจริง
  • ผู้เขียนต้องไม่ทำการคัดลอก (plagiarism) ผลงานของบุคคลอื่นมาเป็นของตนเอง หากมีการตรวจพบหรือมีการร้องเรียนมายังวารสาร กองบรรณาธิการมีสิทธิ์ถอดถอนบทความนั้นทันที
  • ถ้าผู้เขียนนำข้อมูลจากผู้อื่นมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา รูปภาพ ตาราง ฯลฯ ต้องมีการอ้างอิงให้ถูกต้อง ตามหลักวิชาการ เพื่อไม่ให้เกิดการฟ้องร้อง อันมีสาเหตุที่เกิดจากการคัดลอกผลงานผู้อื่น
  • ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของวารสารทุกประการ และจัดรูปแบบบทความตามรูปแบบที่วารสารกำหนด
  • ผู้เขียนจะต้องไม่เร่งรัดกระบวนการพิจารณาบทความให้ทันตามความจำเป็นของผู้เขียน ในกรณีที่ทางผู้เขียนเร่งรัดให้กองบรรณาธิการของวารสาร เร่งกระบวนการพิจารณาบทความให้มีระยะเวลาที่สั้นลง หรือขอใบตอบรับก่อนกระบวนการพิจารณาจะเรียบร้อย ทางวารสารขอสงวนสิทธิ์ไม่รับการตีพิมพ์บทความนั้น
  • ผู้เขียนจะต้องไม่สืบค้นข้อมูลจากผู้ประเมินบทความของผู้เขียน เนื่องจากการประเมินดังกล่าวมีลักษณะ Double-Blind Review เพื่อป้องกันความไม่พอใจผลการประเมิน และผู้เขียนต้องยอมรับผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการวารสาร
  • ผู้เขียนจะต้องเปิดเผยข้อมูลในกรณีที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interest)

 

จริยธรรมของกองบรรณาธิการ (Editor)

  • บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ มีหน้าที่ในการกลั่นกรองและพิจารณาบทความที่จะแสดงความประสงค์ของรับการตีพิมพ์เบื้องต้น ว่ามีความสอดคล้องกับขอบเขตและเนื้อหาของวารสารหรือไม่ ก่อนที่จะทำการส่งบทความนั้นให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาต่อไป
  • บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ ต้องความกระตือรือร้นในการติดตาม กำกับ ดูแล และตรวจสอบการประเมินบทความให้สอดคล้องกับขอบเขตและวัตถุประสงค์ของวารสาร
  • บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ มีอำนาจ สิทธิ์ขาดในการตัดสินใจในการตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์บทความ
  • บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ ตรวจสอบ กลั่นกรองและไม่รับตีพิมพ์บทความที่อยู่ในระหว่างกระบวนการตีพิมพ์หรือเคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน
  • บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ ทำหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา นอกจากนี้ต้องตรวจสอบว่าบทความดังกล่าวได้แก้ไข ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิแล้วหรือไม่ ก่อนที่จะดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
  • บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ ต้องมีความเป็นกลาง และไม่เปิดเผยข้อมูลผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เขียนให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ
  • บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ จะต้องมีการปรับปรุง พัฒนาวารสารให้ความทันสมัยและรักษาคุณภาพและมาตรฐานของวารสารอยู่เสมอ เพื่อความถูกต้องและครบถ้วนสมบูรณ์
  • บรรณาธิการจะต้องตอบรับการตีพิมพ์ ก็ต่อเมื่อบทความนั้นได้สิ้นสุดกระบวนการการพิจารณาแล้วเท่านั้น โดยกองบรรณาธิการจะไม่ออกใบตอบรับก่อนกระบวนการประเมินเสร็จสิ้น
  • บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ จะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interest) กับทุกกระบวนการในการพิจารณาบทความ

จริยธรรมของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Reviewer)

  • ผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความ จะต้องประเมินบทความโดยคำนึงถึงความถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยปราศจากอคติ
  • ผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความต้องมีความเชี่ยวชาญ (Expertise) ในเนื้อหาของบทความนั้น เพื่อให้บทความมีคุณภาพ และถูกต้องตามหลักวิชาการมากที่สุด
  • ผู้ทรงคุณวุฒิต้องประเมินบทความ ตามแบบฟอร์มที่วารสารกำหนด
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interest) กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้เขียนบทความ
  • ผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความจะต้องไม่สืบค้นว่า บทความที่ได้รับการประเมินเป็นใคร เนื่องจากกระบวนการพิจารณาบทความมีลักษณะ Double – Blind Review
  • ผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความต้องมีความรับผิดชอบ โดยเฉพาะควรประเมินบทความในระยะเวลาที่กองบรรณาธิการกำหนด และไม่ทิ้งงานกลางคัน
  • ในกรณีที่ผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความตรวจสอบว่าบทความที่ประเมินมีการคัดลอก (plagiarism) ผลงานของผู้อื่น ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องแจ้งมายังกองบรรณาธิการทราบเพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป