การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 15pt(ในภาษาไทย) และ 15 pt(ในภาษาอังกฤษ) ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำผู้แต่ง

ข้อกำหนดในการส่งต้นฉบับบทความเพื่อลงพิมพ์ในวารสารพิพัฒนสังคม [ คลิก ]
Requirements for Manuscript Submission [ Click here ]

เรื่องที่จะเสนอตีพิมพ์
ผลงานที่รับตีพิมพ์ต้องเป็นบทความวิจัยหรือบทความปริทัศน์ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ในเชิงเศรษฐกิจ บริหารธุรกิจ การเมือง สารสนเทศศาสตร์ สุขภาวะทางกาย จิต และสังคม และสาขาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาบทความที่จะได้รับลงพิมพ์ ต้องผ่านการอ่านและประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องนั้น ๆ และยอมรับให้ลงพิมพ์โดยกองบรรณาธิการ

ประเภทบทความ (Article Type)
1) บทความวิจัย งานเขียนทางวิชาการที่เป็นงานศึกษาหรืองานค้นคว้าอย่างมีระบบ ด้วยวิธีวิทยาการวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น ๆ และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล คำตอบหรือข้อสรุปรวมที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการหรือเอื้อต่อการนำวิชาการนั้นไปใช้ประโยชน์ บทความวิจัย ประกอบด้วย เนื้อหาที่สะท้อนให้เห็นกระบวนการค้นคว้าวิจัยในประเด็นปัญหาอย่างเหมาะสมตามระเบียบวิธีวิจัย เช่น บทนำหรือประเด็นปัญหาการวิจัย ผลการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ สมมติฐาน กรอบแนวคิด วิธีดำเนินการ การสรุปผล การอภิปรายผล และให้ข้อเสนอแนะ มีการอ้างอิงและรายการเอกสารอ้างอิงครบถ้วน ทั้งนี้อาจนำเสนอโดยจำแนกตามหัวข้อข้างต้นหรือประมวลสรุปกระบวนการวิจัยในผลงานวิจัยนั้นให้มีความกระชับและสั้น สำหรับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
2) บทความปริทัศน์ งานเขียนทางวิชาการที่มีการสังเคราะห์ความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามหลักวิชาการ โดยอธิบายและสรุปผลการสังเคราะห์ได้อย่างชัดเจน สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการ แนวโน้มขององค์ความรู้อย่างเป็นระบบ โดยที่ผู้เขียนแสดงทัศนะทางวิชาการของตนไว้อย่างชัดเจน บทความปริทัศน์ ประกอบด้วย บทนำเพื่อแสดงเหตุผล หรือที่มาของประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์ กระบวนการอธิบายหรือวิเคราะห์ และบทสรุป มีการอ้างอิงและรายการเอกสารอ้างอิงครบถ้วน
3) บทวิจารณ์หนังสือ การเขียนเล่าเรื่อง แสดงความคิดเห็น ทัศนคติ และวิพากย์เรื่องราวของเนื้อหาที่อยู่ในหนังสืออย่างมีหลักการ สมเหตุสมผลเกี่ยวกับหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งโดยเจตนาที่จะแนะนำหนังสือให้ผู้อ่านได้รู้จัก และสร้างความสนใจให้แก่หนังสือได้อย่างเข้าใจได้ง่าย และสร้างคุณค่าให้แก่หนังสือ

การส่งต้นฉบับ (Submissions)
ส่งไฟล์ต้นฉบับบทความ (Submission) ทางออนไลน์ ที่เว็บไซต์วารสารบนระบบ ThaiJO ของ TCI https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jsdrp/about/submissions

บทความที่จะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer review) โดยมีขั้นตอนดังนี้
1) ผู้เขียนต้องเตรียมต้นฉบับให้มีรูปแบบเทมแพลต (Template) ตามที่วารสารระบุกำหนดไว้ โดยสามารถ Download ได้จาก link >> เทมเพลต (Template)

โดยเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม รูปแบบ APA 6th Edition ดูได้จาก link >> รูปแบบการอ้างอิง

 2) ผู้เขียนต้องลงทะเบียนเพื่อใช้งานระบบ ThaiJO และส่งบทความทางระบบออนไลน์ที่ วารสารพิพัฒนสังคม (Journal of Social Development Research and Practice) เท่านั้น พร้อมส่งข้อมูลผู้ประสานงานหลักบทความ
3) เมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความแล้วจะดำเนินการตรวจสอบบทความเบื้องต้น ซึ่งประกอบด้วย การตรวจสอบความสอดคล้องของบทความกับวัตถุประสงค์และขอบเขตวารสาร การตรวจสอบการตีพิมพ์ซ้ำซ้อนและการคัดลอกบทความด้วยโปรแกรมตามที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำหนด และการตรวจสอบความถูกต้องของต้นฉบับบทความตามรูปแบบที่วารสารกำหนดไว้ รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพและประโยชน์ทางวิชาการด้วย
4) หากผ่านการตรวจสอบบทความเบื้องต้น กองบรรณาธิการจะดำเนินการส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองคุณภาพบทความต่อไป
5) เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองคุณภาพบทความเรียบร้อยแล้ว กองบรรณาธิการจะพิจารณาผลการกลั่นกรองโดยอิงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิในบทความนั้น ๆ ว่า เห็นควรรับการตีพิมพ์ หรือแก้ไขก่อนการตีพิมพ์ หรือปฏิเสธการตีพิมพ์ โดยผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิและการตัดสินใจของกองบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

เงื่อนไขการพิจารณาตีพิมพ์บทความ
1) กำหนดแจ้งผลการพิจารณาบทความภายใน 30-45 วัน
2) ผลการพิจารณาตีพิมพ์บทความ ประกอบด้วย 3 เงื่อนไข ได้แก่ ตอบรับตีพิมพ์ (Accept) ตอบรับตีพิมพ์แบบมีเงื่อนไข (Minor/Major accept) และปฏิเสธการตีพิมพ์ (Reject)
3) บทความที่ได้รับการตอบรับตีพิมพ์ (Accept) หรือตอบรับตีพิมพ์แบบมีเงื่อนไข (Minor/Major accept) ผู้เขียนจะได้หนังสือตอบรับภายใน 30 วัน หลังจากวารสารตรวจสอบการแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการแก้ไขของผู้เขียน

ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์
วารสารพิพัฒนสังคมไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์

บทความวิจัย

Section default policy

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมล หรือข้อมูลส่วนบุคคล ที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในงานวารสารเท่านั้นและจะไม่เปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่น ๆ หรือให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบ