การพัฒนาทักษะภาษาไทยให้กับนักเรียนมุวัลลัด โดยใช้โปรแกรม AR
คำสำคัญ:
พัฒนาทักษะภาษาไทย, นักเรียนมูวัลลัด, โปรแกรม ARบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์:
1. เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนรู้ภาษาไทย-อาหรับโดยใช้โปรแกรม AR V-Director
2. เพื่อการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนมุวัลลัดโดยใช้โปรแกรม AR V-Director
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อสื่อการเรียนรู้ภาษาไทย-อาหรับโดยใช้โปรแกรม AR V-Director
วิธีการศึกษา: การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมูวัลลัตที่เรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 41 จำนวน 30 คน ห้อง ซึ่งได้จาการเลือกแบบเจาะจง การทดลองที่ใช้สื่อการเรียนรู้ภาษาไทย-อาหรับโดยใช้โปรแกรม AR V-Director ประกอบด้วย 3 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ภาษาไทยเบื้องต้น หน่วยการเรียนรู้ 2 ภาษาไทยเพื่อฝึกการฟังพูด 1 และ หน่วยการเรียนรู้ 3 ภาษาไทยเพื่อฝึกการฟังพูด 2 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test dependent)
ข้อค้นพบ:
1. ผลการหาประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้ภาษาไทย-อาหรับ โดยใช้โปรแกรม AR V-Director ประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 0.67
2. ผลกการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยสื่อการเรียนรู้ภาษาไทยอาหรับโดยใช้โปรแกรม AR V-Director สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อแบบประเมิน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยโปรแกรม AR V-Director อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ ได้แก่ สามารถศึกษาบทเรียนได้ตลอดเวลา สามารถอ่านและทำความเข้าใจเนื้อหาได้ด้วยตนเอง
การประยุกต์ใช้จากการศึกษานี้: สื่อการเรียนรู้ภาษาไทยอาหรับ AR V-Director สามารถนำไปใช้ในกรมส่งเสริมการเรียนรู้หรือโรงเรียนต่าง ๆ ที่มีนักเรียนมูวัลลัตศึกษาอยู่หรือชาวอาหรับที่ต้องการศึกษาภาษาไทย เช่น โรงพยาบาล โรงแรม เป็นต้น
References
กัณฑรี วรอาจ. (2557). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมที่มีความจริงเสมือนเรื่องประเทศสิงคโปร์ผ่านไอแพดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จิรวัฒน์ เพชรรัตน์. (2555). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
จุฑามาศ ธัญญเจริญ. (2557). การพัฒนาหนังสือภาพความจริงเสมือนผ่านไอแพดเรื่องท่ารำวงมาตรฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชุติมา ตลอดภพ. (2559). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมร่วมกับเทคโนโลยีออกเมนเต็ดเรียลลิตี เรื่อง พืชเศรษฐกิจในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ทองมา แป้นดวงเนตร. (2564). การพัฒนาเทคโนโลยีความจริงเสริมวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นประถศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ปรียา หิรัญประดิษฐ์. (2548). พินิจการสอนภาษา พิจารณาวรรณกรรม. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปิยะ ถิรพันธ์เมธี และพัธรวัลย์ แซ่เฮ้ง. (2558). การใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อพัฒนาสื่อการเรียนวิชาภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 21-22.
พชร หมายนาค. (2564). การพัฒนาเทคโนโลยีความจริงเสริมร่วมกับการเรียนรู้รวมกัน เรื่อง องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์เบื้องต้น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกัน ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พรทิพย์ ปริยวาทิต และวิชัย นภาพงศ์. (2559). ผลของการใช้บทเรียน Augmented Reality Code เรื่องคำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดตานีนรสโมสร (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พัชรี ปุ่มสันเทียะ สิริณดา เจริญชอบ พัชราวลัย มีทรัพย์ และปิยมนัส วรวิทย์รัตนกุล. (2563). การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมในรายวิชาภาษาจีนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 48(2), 184-202.
เฟื่องฟ้า พันธุราษฎร์. (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัยโดยใช้บัตรภาพ AR (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
ศรีวิไล พลมณี. (2545). พื้นฐานการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Forbes, J.D. (1993). Africans and Native Americans: The Language of Race and the Evolution of Red-Black PeoplesSecond Edition. University of Illinois Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพิพัฒนสังคม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.