สตรีหม้ายในปัตตานี: ผลกระทบกับการฟื้นคืนความเข้มแข็งในระยะเริ่มแรกกับการตั้งรับบนความสูญเสีย

ผู้แต่ง

  • คุณานนท์ ศรีโสภา หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ธันยา รุจิเสถียรทรัพย์ หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การฟื้นคืนความเข้มแข็ง, สตรีหม้าย, การตั้งรับบนความสูญเสีย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของผลการศึกษาวิทยานิพนธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการฟื้นคืนความเข้มแข็งของสตรีหม้ายที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในจังหวัดปัตตานี มุ่งนำเสนอผลการศึกษากระบวนการในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ของกระบวนการฟื้นคืนความเข้มแข็ง

วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตกับผู้ให้ข้อมูล คือ สตรีหม้ายที่สูญเสียสามีจากการเสียชีวิตจากความไม่สงบ ใช้แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลแบบทฤษฎีฐานราก

ข้อค้นพบ: ระยะที่ 1 สตรีหม้ายเผชิญกับความเศร้าและความเครียดในระยะเริ่มแรกหลังการสูญเสีย และต้องอาศัยการเยียวยาจากแพทย์และครอบครัว ซึ่งการฟื้นคืนความเข้มแข็งทางจิตใจเป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป โดยสตรีหม้ายหลายท่านใช้ศาสนาและการให้กำลังใจจากครอบครัวในการผ่านพ้นระยะนี้ บางคนถึงกับต้องได้รับการบำบัดทางจิตเวชเพื่อช่วยฟื้นฟูจิตใจให้กลับมาสู่สภาวะปกติ ส่วนระยะที่ 2 คือ การยอมรับสภาพการณ์ ซึ่งสตรีหม้ายจะพยายามปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่ พร้อมกับการค้นหาวิธีในการสร้างกำลังใจและการแก้ไขปัญหาให้ตนเอง

การประยุกต์ใช้จากการศึกษานี้: (1) ผลักดันการดูแลผู้ได้รับผลกระทบเป็นวาระแห่งชาติ ส่งเสริมให้ภาครัฐและเอกชนพัฒนาการดูแลด้านเศรษฐกิจ สุขภาพจิต และสังคมอย่างบูรณาการ (2) พัฒนาระบบโครงข่ายความปลอดภัยทางสังคม โดยการสนับสนุนสตรีหม้ายในระยะยาวผ่านการเชื่อมโยงหน่วยงานรัฐและเอกชนเพื่อสร้างเครือข่ายการช่วยเหลือครบวงจร และการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เช่น การจ้างงานที่ยั่งยืนและการฝึกอบรมทักษะ และ (3) พัฒนากลไกการดูแลสุขภาพจิตโดยเน้นการมีทีมช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตที่สามารถเข้าถึงและช่วยเหลือสตรีหม้ายได้อย่างใกล้ชิด เพื่อลดความเครียดและความโดดเดี่ยว

References

กรมสุขภาพจิต. (2552). 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ RQ. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต สำนักพัฒนาสุขภาพจิต.

กรมสุขภาพจิต. (2563). คู่มือสร้างสรรค์พลังใจให้วัยทีน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต.

กรวิกา บวชชุม, วินีกาญจน์ คงสุวรรณ, และวันดี สุทธรังสี. (2560). การดูแลตนเองทางด้านจิตใจของสตรีหม้ายจากสถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้: รายงานการศึกษาเบื้องต้น, วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 37(1), 97-104.

คุณานนท์ ยาแลหลา, ปาหนัน บัวสาม และธันยา รุจิเสถียรทรัพย์. (2566). การฟื้นคืนความเข้มแข็งของสตรีหม้ายภายใต้การหนุนเสริมของบริบทสังคมชายแดนใต้ กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี. ใน การสัมมนาทางวิชาการเนื่องในวันสถาปนาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ครบรอบ 69 ปี “เปลี่ยนสู่วิถีใหม่ของการปฏิรูปความห่วงใยดูแลสังคม”. (น. 212-231). กรุงเทพฯ: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดวงหทัย บูรณเจริญกิจ. (2564). สถานการณ์เด็ก เยาวชน และผู้หญิงในจังหวัดชายแดนภาคใต้. ยะลา: ศูนย์ประสานงานด้านเด็กและสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้.

เดอะ แอคทีพ. (2564). 17 ปี เด็กและผู้หญิง แบกบาดแผลความรุนแรงชายแดนใต้. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2565 จาก https://theactive.net/data/women-and-children-in-the-south-border-of-thailand

ธันยา รุจิเสถียรทรัพย์. (2565). แนวคิดและทฤษฎีสวัสดิการเด็ก. กรุงเทพฯ: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เนตรชนก สุนา. (2556). เจตคติของคนพิการต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจ (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล. (2550). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางใจสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาสุขภาพจิต.

มนวัธน์ พรหมรัตน์, ทวีลักษณ์ พลราชม และอัมพร หมาดเด็น. (2558). การเป็น “สตรีหม้าย” กับ ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมและโครงสร้างในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 3(2), 93-119.

มาดี ลิ่มสกุล. (2564). แนวคิดและทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์. กรุงเทพฯ: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี. (2560). ความขัดแย้งชายแดนใต้ในรอบ 13 ปี: ความซับซ้อนของสนามความรุนแรงและพลังของบทสนทนาสันติภาพปาตานี. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2566 จาก https://deepsouthwatch.org/th/node/11053

ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ชายแดนใต้. (2564). สรุปเหตุการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำเดือนกันยายน 2564. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2566 จาก https://deepsouthwatch.org/th/node/12812

สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้. (2558). การประเมินสถานการณ์ของผู้ชายและเยาวชนชายในพื้นที่ขัดแย้งชายแดนใต้ของประเทศไทย. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดปัตตานี. (2564). รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดปัตตานี ประจำปี 2564. ปัตตานี: ปัตตานีอินโฟ.

สุวรา แก้วนุ้ย. (2565). ความเป็นอยู่ที่ดีทางสังคมของสตรีที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้สถานการณ์โควิด-19. ใน การสัมมนาทางวิชาการเนื่องในวันสถาปนาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ครบรอบ 68 ปี “ทางเลือกและทางรอด: การปรับตัวภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่”. (น. 30-50). กรุงเทพฯ: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

หริรักษ์ แก้วกับทอง. (2554). ประสบการณ์ทางจิตใจของหญิงม่ายจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

American Psychological Association. (2019). Single Parenting and Today’s Family. Retrieved 25 November 2023, from https://www.apa.org/topics/parenting/single-parent

Becker, G.S. (1976). The Economic Approach to Human Behavior. Chicago: University of Chicago Press.

Bronfenbrenner, U. (1979). The Ecology of Human Development: Experiments by Nature and Design. Massachusetts: Harvard University Press.

Connor M.K., & Davidson R.T.J. (2003). Development of anew resilience scale: The Corner – Davidson Resilience scale (CD-RISC). Depression & Anxiety, 18(1), 76-82.

Durkheim, É. (1951). Suicide: A study in sociology. Glencoe, IL: Free Press.

Dyer, J.G., & McGuinness, T.M. (1996) Resilience: Analysis of the concept. Archives of Psychiatric Nursing, 10(1), 276-282.

Grotberg, E.H. (1995). A guide to promoting resilience in children: Strengthening the human spirit. Retrieved 25 November 2023, from https://bibalex.org/baifa/attachment/documents/115519.pdf

Wolin, S.J, & Wolin, S. (1993). The resilience self: how survivors of trouble family Rise above Adversity. New York: Villard Books.

World Health Organization. (2004). Promoting mental health: Concepts, emerging evidence, practice (Summary Report). Retrieved 25 November 2023, from https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/43286/9241562943_eng.pdf?sequence=1

Zimmerman, M.A. (1995). Psychological empowerment: Issues and illustrations. American Journal of Community Psychology, 23(5), 581–599.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

How to Cite

ศรีโสภา ค., & รุจิเสถียรทรัพย์ ธ. (2024). สตรีหม้ายในปัตตานี: ผลกระทบกับการฟื้นคืนความเข้มแข็งในระยะเริ่มแรกกับการตั้งรับบนความสูญเสีย. วารสารพิพัฒนสังคม, 1(3), 41–61. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jsdrp/article/view/1230