การประเมินความพึงพอใจต่อการให้บริการหน่วย One Stop Service สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พรรณี ศรีเรือน สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ปรานอม ก้านเหลือง สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จารุณี แก้วทอง สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ประเมิน, ความพึงพอใจ, การใช้บริการ, หน่วย One Stop Service

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการให้บริการหน่วย One Stop Service สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ หัวหน้าโครงการ นักวิจัย คณาจารย์และผู้ร่วมวิจัย จำนวน 30 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ประเมินความพึงพอใจต่อการให้บริการของหน่วย One Stop Service 6 ด้าน

ข้อค้นพบ: หัวหน้าโครงการ นักวิจัย คณาจารย์และผู้ร่วมวิจัย มีความพึงพอใจต่อขั้นตอนการให้บริการ มีความคล่องตัว สะดวก และรวดเร็ว ในระดับมากที่สุด ด้านการดำเนินการเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด ในระดับมากที่สุด ด้านขั้นตอนการปฏิบัติงานมี Work Flow และดำเนินการตามขั้นตอนที่วางไว้ ในระดับมาก ด้านเจ้าหน้าที่สามารถอธิบายและให้คำแนะนำได้อย่างถูกต้อง ในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจโดยรวมต่อการรับบริการ แบบ One Stop Service ในระดับมาก ด้านการบริการ One Stop Service มีประสิทธิภาพ ในระดับมาก

การประยุกต์ใช้จากการศึกษานี้: ผลการวิจัยที่ได้เป็นแนวทางในการพัฒนาการบริการ และการสร้างระบบบริการ One Stop Service ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อการดำเนินงานวิจัยในอนาคตต่อไป สามารถนำไปใช้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หน่วย One Stop Service ของสถาบันวิจัยต่าง ๆ และส่วนงานวิจัยของภาควิชา คณะต่าง ๆ ทั้งในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนอกมหาวิทยาลัย

References

กชกร เป้าสุวรรณ, ธนภัทร ปัจฉิม และสุจิตรา ฉายปัญญา. (2550). ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการมาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์พิษณุโลก (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

กฤษฎิ์ กาญจนกิตติ. (2551). ความพึงพอใจของนักศึกษาชาวต่างชาติที่มีต่อการบริการทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2536). การให้บริการแบบครบวงจร : แนวทางการให้บริการเชิงรุกของกรมการปกครอง. เทศาภิบาล, 88(5), 11-14.

บุญชม ศรีสะอาด. (2558). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

รุจิเรข บริสุทธิบัณฑิต. (2555). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการงานบริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริขวัญ บริหาร. (2549). ความพึงพอใจของผู้ประกอบการที่มารับบริการ ณ ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จของกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2566). แผนยุทธศาสตร์ สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุภาณี ประชุมชน. (2560). การบริหารจัดการงานกิจการนักศึกษาแบบ One Stop Service : OSS. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2567 จาก http://www.dpu.ac.th/sao/upload/content/files/OneStop-Service.pdf

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Kotler, P. & Keller, K.L. (1997). Marketing Management. 13th edition. New Jersey: Pearson Education, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

How to Cite

ศรีเรือน พ., ก้านเหลือง ป., & แก้วทอง จ. (2024). การประเมินความพึงพอใจต่อการให้บริการหน่วย One Stop Service สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารพิพัฒนสังคม, 1(3), 14–26. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jsdrp/article/view/1003