การศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ “ใส่ใจ เนอร์สซิ่งโฮม”

ผู้แต่ง

  • paphawarin sirithana -

คำสำคัญ:

ความเป็นไปได้, ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ, แบรนด์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนด้านการตลาดของธุรกิจศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ  “ใส่ใจ เนอร์สซิ่งโฮม” ตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยทำการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ด้านการตลาด ใช้กรณีศึกษาเป็นโครงการนําร่อง กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ชั้นทางสังคมระดับชนชั้นกลางระดับสูง และวิเคราะห์ข้อมูลวิธีแก่นสาระ            ผลการวิจัย พบว่า การวางตำแหน่งของแบรนด์ ใช้เครื่องมือสื่อส่งเสริมการขาย ณ จุดขาย คือ มีการให้บริการพื้นฐาน และใช้เครื่องมือการสร้างความแตกต่าง โดยเน้นการบริการด้วยหัวใจ และกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด พบว่า (1) ด้านสถานที่ เน้นพื้นที่ให้บริการกว้างขวาง มีพื้นที่สวนหย่อมให้ผ่อนคลาย (2) ด้านสินค้าหรือบริการ มีห้องพักหลายขนาดให้เลือกใช้บริการ พร้อมอาหาร การพยาบาล กายภาพบำบัด สันทนาการ (3) ด้านราคา กำหนดราคาให้สูงกว่าคู่แข่งขัน และกำหนดราคาต่างกันตามกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน 4) ด้านการส่งเสริมการตลาด เน้นการสร้างการรับรู้ของแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมาย และเน้นการสร้างคุณค่าแบรนด์ เพื่อการเป็น  แบรนด์ที่ลูกค้าให้ค่าและจดจำได้

 

References

ธันวาพร วิมลชัยฤกษ์. (2566). นวัตกรรมการบริการลูกค้าเชิงกลยุทธ์ที่มีต่อความสําเร็จขององค์กรของธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการ

วิจัยและวิชาการ, 3(4), 291-308.

นราธิป ภักดีจันทร์. (2561). หลักการตลาด. นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ประสิทธิ์ ตงยิ่งศิริ. (2544). การวางแผนและการวิเคราะห์โครงการ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเครชั่น

ทรงศักดิ์ รักพ่วง และภุชงค์ เสนานุช. (2562). นวัตกรรมทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ : ความสำคัญต่อสังคม

ผู้สูงอายุใน ประเทศไทย.วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(2), 205-215.

ภิญญดา รื่นสุข. (2558). รูปแบบการตลาดธุรกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร.

วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 6(1), 197-209.

รศรินทร์ เกรย์ และ ณปภัช สัจนวกุล. (2565). สังคมสูงวัยกับการสูงวัยในที่เดิม. สถาบันวิจัยประชากรและ

สังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

อรรถวุฒิ เรืองตรานนท์. (2558). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจที่พำนักระยะยาวสาหรับ

ผู้เกษียณอายุชาวญี่ปุ่นในจังหวัดเชียงใหม่. บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Braun, V., & Clarke, V. (2014). What can “thematic analysis” offer health and wellbeing

researchers?. International journal of qualitative studies on health and well-being,

(1), 1-2

Humphrey, A. (2005). SWOT Analysis for Management Consulting. SRI Alumni Newsletter. SRI

International.

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30