การพัฒนาการปฏิบัติงานตรวจสอบและการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
คำสำคัญ:
การตรวจสอบค่าใช้จ่าย, การเบิกจ่ายตามระเบียบราชการ , การพัฒนาการปฏิบัติงานบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของบุคลากรคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และ (2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข รวมถึงการตรวจสอบและเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของบุคลากรคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ จำนวน 30 ราย โดยการเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย และเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักผู้มีสิทธิและผู้ที่เกี่ยวข้องในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามหลักกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่มีโครงสร้าง โดยวิเคราะห์ข้อมูลวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และใช้สถิติเชิงพรรนณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ ความเข้าใจและสภาพปัญหาในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในภาพรวมร้อยละ 72.29 ซึ่งถือว่าไม่มีสภาพปัญหาผลมาจากคำถามรายข้อที่ไม่เป็นปัญหาการเบิกค่าใช้จ่าย แต่พบสภาพปัญหา 3 ข้อ (1.1) สถานที่พักแรมบริการอาหารเช้า ไม่สามารถเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงมื้อเข้าได้ โดยตามระเบียบฯ แล้วโรงแรมหรือสถานที่พักแรมบริการอาหารเช้า สามารถเบิกค่าเบี้ยได้ตามปกติ ถือว่าเป็นบริการเสริมที่พักแรมนั้น ๆ (1.2) ค่าที่พัก หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการเช่าห้องพักในโรงแรม หรือที่พักแรม หรือบ้านของผู้เดินทางก็ได้ ซึ่งตามระเบียบฯ ค่าเช่าที่พัก หมายความว่า ค่าใช้จ่ายในการเช่าห้องพักในโรงแรมหรือที่พักแรมแต่ไม่รวมถึงบ้านพักของผู้เดินทาง และ (1.3) การเบิกจ่ายค่าที่พักทุกกรณีต้องแสดงหลักฐานการจ่ายเงิน ซึ่งตามระเบียบฯการเบิกจ่ายค่าพักตามจ่ายจริง ต้องแสดงหลักฐานการจ่ายทุกรายการ ในกรณีเบิกจ่ายค่าที่พักเหมาจ่ายไม่ต้องแสดงหลักฐานใด ๆ และ (2) การตรวจสอบและเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.188 ซึ่งผลมาจากประเด็นปัญหาแบบฟอร์มการขออนุมัติเดินทางไปราชการมีรายละเอียดมากทำให้กรอก เช่น ขาดจำนวนเงินตัวอักษร ลงชื่อไม่ครบถ้วนถูกต้อง มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.70 รองลงมาปัญหาไม่สามารถจัดทำเอกสารการเบิกจ่าย เพื่อล้างหนี้เงินยืมทดรองราชการได้ทันตามกรอบเวลา มีค่าเฉลี่ย 3.63 ไม่สามารถคำนวณอัตราการเบิกจ่าย เช่น การคำนวณเบี้ยเลี้ยงและเวลา ไปกลับบางครั้งไม่ถูกต้อง ค่าใช้จ่ายตามสิทธิทำให้ไม่สามารถวางแผนค่าใช้ จ่ายในการเดินทางได้ถูกต้องและต้องขออนุมัติเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายภายหลัง มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.51 และไม่ทราบขั้นตอนการปฏิบัติงาน/ไม่มีคู่มือที่ใช้ศึกษาอ้างอิง มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.20 ตามลำดับ
References
กระทรวงการคลัง. (2550). ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550. กรม.
กระทรวงการคลัง. (2550). ระเบียบการเบิกเงินจากคลังว่าด้วยค่ำใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงานและการประชุมระหว่างประเทศและแก้ไขเพิ่มเติม. กรม.
กลุ่มงานเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี. (2566). บุคลากรคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. มหาวิทยาลัย.
จักรภพ ใหม่เสน. (2563). หลักและวิธีการพัฒนางาน. สืบค้นจาก: Ims.rmutsb.ac.th.
นันทมาศ เหลืองน้ำเพ็ชร และสุกัญญา นิ่มเนียม. (2555). ความรู้ความเข้าใจในระเบียบค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและปัญหาการจัดทำเอกสารเบิกจ่ายค่า
ใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของบุคลากร คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ตำแหน่งชำนาญ
การพิเศษลงมาหรือเทียบเท่า. ตามรอยพระยุคลบาท, รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาลัย
กำแพงแสน ครั้งที่ 9 (น. 1040-1051).
ณปภัช เรียงแหลม. (2558.) การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงิน ห่วงโซ่อุปทาน และศักยภาพใน การแข่งขันของเกษตรกรผู้ทำสวนองุ่นพันธุ์ไวท์มะละกา ใน
อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประพนธ์ ผาสุขยืด. (2550). การจัดการความรู้ : ฉบับขับเคลื่อน. กรุงเทพฯ : ใยไหม.
พรทิพย์ ชมเดช และคณะ. (2563). การพัฒนารูปแบบการปฏิบัติงานเบิกจ่ายงบประมาณ กองบริหารการคลัง กรมควบคุมโรค. โครงการวิจัยจากงานประจำ, กรม
ควบคุมโรค.
พัชรินทร์ จันทร์แจ้ง. (2560). การพัฒนาคู่มือการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดโครงการบริการวิชาการของ
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 4(1), 114-123.
เฟื่องฟ้า เทียนประภาสิทธิ์. (2558). การตรวจสอบเอกสารหลักฐานการจ่ายกับการควบคุมคุณภาพทาง
การเงิน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรเพื่อสังคม.
วัลลภ ประเสริฐ, ไกรสร พันพงค์แข็ง, เอื้องแก้ว คำถาวร และขนิษฐา คําน้อย. (2561). การพัฒนาระบบและกลไกการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของคณะใน
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(3), 16-26.
ศุภณิช จันทร์สอง. (2561). การพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนถ่ายจากแอนาล็อคทีวีสู่ดิจิทัลทีวีสำหรับคนรุ่นใหม่. รายงานวิจัยคณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สืบค้นจาก: http://www.cmruir.cmru.ac.th/bitstream/123456789/1250/1/1.Cover.pdf
สายใจ ชุนประเสริฐ. (2562). แนวทางการพัฒนาการเบิก-จ่ายของคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ธนบุรี, 1(1), 56—5.
สายหยุด ใจสำราญ และสุภาพร พิศาลบุตร. (2547). การพัฒนาองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 5) กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สิทธิพันธ์ อินทร์เพ็ญ. (2563). การพัฒนาคุณภาพงานและการปรับปรุงกระบวนงาน. สืบคืนจาก: http://qcc.egat.co.th/docs/qcc57/articles/qcc57-article-
แสงจันทร์ โสภากาล. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจของบุคลากรเกี่ยวกับองค์การ
บริหารส่วนตำบล. (รายงานการวิจัย) คณะสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
เลย
ศิรินทร์ ทิมจันทร์. (2564). การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของ คณะวิทยาการจัดการ
ประจำปีงบประมาณ 2559. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 3(1), 32-49.
สำนักเลขาธิการรัฐมนตรี. (2526). พระราชกฤษฎีการค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สืบค้นจาก :
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/
อรุณี มนประณีต. (2560). แนวทางการตรวจสอบการเบกจ่ายค่าใช้จ่ายสําหรับการเดินทางไปราชการของบุคลากรในสังกัดกรมอนามัยของบุคลากรในสังกัดกรม
อนามัย กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารประกอบการประเมิน, กลุ่มตรวจสอบภายใน, กรมอนามัย.
อลงกรณ์ จันทรโสภณ. (2546). การพัฒนาการปฏิบัติงานในแผนกวิชาช่างซ่อมบำรุง วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม. (การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต)
บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York: Mc Graw Hill Book.