ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขนาดกลาง สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี
บทคัดย่อ
วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขนาดกลาง สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี และแนวทางการพัฒนาพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน และครูผู้สอนจำนวน 97 คน รวมเป็น 102 คนและผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา จำนวน 1 คน และผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 2 คน รวมเป็น 3 คน เครื่องที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามมาตราวัดประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 47 ข้อ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 - 1.00 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา. ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขนาดกลาง สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขนาดกลาง สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขนาดกลาง สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี พบว่า 1) ด้านการดูแลเอาใจใส่ครูและนักเรียนอย่างใกล้ชิด ควรมีการเยี่ยมชั้นเรียน ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถของนักเรียน และจัดครูสอนแทน 2) ด้านการประสานงานการใช้หลักสูตร ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตรและส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู มอบหมายบุคลากรในการ ทำหน้าที่ประสานงาน 3) ด้านการใช้หลักสูตรและเป็นผู้นำในการสร้างหรือพัฒนาหลักสูตร 4) ด้านการกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน ควรมีการประเมินความต้องการของครู บุคลากร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กำหนดและพัฒนาเป้าหมายด้านวิชาการของโรงเรียน 5) ด้านการส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิชาชีพครู ควรสนับสนุนครูเข้ารับการอบรมทางวิชาการ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูนำทักษะที่ได้จากการฝึกอบรมมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน 6) ด้านการสื่อสารเป้าหมายของโรงเรียน ควรประชุมชี้แจงด้านเป้าหมายด้านวิชาการของโรงเรียนให้ครู นักเรียน ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ ที่หลากหลาย ทันสมัย และรวดเร็ว 7) ด้านการควบคุมการใช้เวลาในการสอน ควรตรวจเยี่ยมชั้นเรียน ควบคุม ดูแลเกี่ยวกับการสอนแทน 8) ด้านการจัดให้มีสิ่งส่งเสริม
สภาพการเรียนรู้ ควรส่งเสริมบรรยากาศด้านการเรียนรู้ของนักเรียน ยกย่องชมเชยนักเรียนที่มีผลงานทางด้านวิชาการดีเด่น สนับสนุน ให้นักเรียนเข้าร่วมแข่งขันทักษะทางด้านวิชาการ 9) ด้านการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน ควรนำผลการทดสอบมาใช้ในการประเมินความก้าวหน้าตามเป้าหมาย 10) ด้านวิชาการของโรงเรียน ควรมีการใช้ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในการกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน แจ้งผลการทดสอบทางการเรียนให้นักเรียนและผู้ปกครองทราบอย่างรวดเร็ว 11) ด้านการพัฒนาและสร้างมาตรฐานด้านวิชาการ ควรประกาศเกณฑ์ต่าง ๆ ทางด้านวิชาการให้นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน 12) ด้านการเรียนของนักเรียน และควรมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานด้านวิชาการ 13) ด้านการนิเทศและการประเมินผลการสอนของครู ควรมีการประเมินการจัดการเรียนการสอนพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และสะท้อนผลย้อนกลับด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูทุกครั้งที่มีการนิเทศการสอน และ 14) ด้านการจัดสิ่งจูงใจให้กับครู ควรยกย่องเชิดชูเกียรติคุณของครู ส่งเสริมให้ครูใช้ความสามารถและทักษะของตนได้อย่างเต็มศักยภาพ
References
ซัมซียะห์ เมาลิดิน. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1. สารนิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ณัฐชานันท์ โตนาม. (2562). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่าย อำเภอบางบัวทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริการการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ธนิต รัตนศักดิ์. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศิลปศาสตร์: มหาวิทยาลัยเกริก
บาลกีส กาซา. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอกรงปินัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญพา พรหมณะ. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
มะไซดี อับดุลกอเดร์. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานราธิวาส. การค้นคว้าอิสระ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
วิเชียร วรรณภากร. (2560). การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษามัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตราด สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
สถาบันพัฒนาความก้าวหน้า. (2553). ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ตามหลักเกณฑ์ใหม่. กรุงเทพฯ: เอส.พี.เอ็น. การพิมพ์
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2553). ชุดเครื่องมือการเรียนรู้ เรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
เสาวภาพันธ์ ศรีประเสริฐ. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Chell, J. (2001). Introducing Principals to the Role of Instructional Leadership. SSTA Research Centre Report. 27(3), 1-10.
Hallinger, J. S., Murphy, S.L. (1985). Work stress and social support. Reading. Massachusetts: Addison-Wesley Publishing Company.
Murphy, K. J. and Kevin, O. (1999). Handbook of Labor Economics. Amsterdam: North-Holland Constructivist Perspective.