การเพิ่มขีดความสามารถในไลน์การผลิตของสายการผลิตผงซักฟอก อุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ และสถาบันนวัตกรรมทางการศึกษา สมาคมส่งเสริมการศึกษาทางเลือก
  • นพดนัย จิโรจยนตรกิจ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ และสถาบันนวัตกรรมทางการศึกษา สมาคมส่งเสริมการศึกษาทางเลือก

คำสำคัญ:

การเพิ่มขีดความสามารถ, ไลน์การผลิต, สายการผลิต, ผงซักฟอก

บทคัดย่อ

      งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเพิ่มผลิตภาพจากการปรับปรุงความสามารถในการผลิตและเพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิต (O.A) เป็น 85% ของระบบการผลิต จะช่วยทำให้การผลิตสินค้ามีคุณภาพสูงสุด ช่วยให้ผลิตในต้นทุนที่ต่ำที่สุด ระยะเวลาตั้งแต่ผลิตจนส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าน้อยที่สุด และสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เกิดผล คือ สองเสาหลักได้แก่ 1. ทันเวลาพอดี (JUST-IN-TIME) 2. จิโดกะ (JIDOKA) จึงจะทำให้เกิดเป็นบ้าน TPS ที่สมบูรณ์ มีเครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบประเมิณผล จดบันทึกทำการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง วิเคราะห์ปัญหา เก็บข้อมูลเป็นรายวัน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ไลน์การผลิต มีค่า O.A. ที่ต่ำกว่าเป้าของบริษัทที่ตั้งไว้จากการได้ลงพื้นที่หน้างาน และตรวจสอบข้อมูลพบว่า มีรอบเวลาการผลิตที่ไม่คงที่เป็นเพราะมีความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในการผลิต จึงได้ทำการวิเคราะห์หาสาเหตุ โดยสำรวจพื้นที่หน้างาน จนพบสาเหตุต่างๆที่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องความสูญเปล่า จึงทำการวิเคราะห์โดยใช้หลัก 5 Whys ในการหาสาเหตุของปัญหาเรื่องความสูญเปล่า โดยมีสาเหตุหลักๆดังนี้ คนออกนอกไลน์ รอชิ้นส่วน รอพาเลท งานเสีย เครื่องจักรเสีย และทำการไคเซ็นเพื่อแก้ไขปัญหา ผลที่ได้รับจากการไคเซ็นปัญหาเรื่องความสูญเปล่าทั้งหมด ยกเว้นเรื่องรอพาเลท ส่งผลให้ความสามารถในการผลิตจากเดิมอยู่ที่ 74% เพิ่มขึ้น 93.7% เหตุผลที่ไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องรอพาเลทได้เนื่องจาก มีการผลิตมากเกินความจำเป็น ทำให้พาเลทไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้ทันนอกเหนือจากการไคเซ็นปัญหาความสูญเปล่าผู้วิจัยได้นำเสนอแนวคิดในการปรับไลน์การผลิตให้เป็นรูปแบบการผลิตแบบชิ้นต่อชิ้นเพื่อให้ไม่เกิดงานกอง และปรับเวลาการทำงานเพื่อให้รอบเวลาการผลิต (cycle time) มีความคงที่

References

เกศณีย์ สัตตรัตนขจร, สนธิญา สุวรรณราช, แดนกุล รูป, สุพรรณี คำวาส, ปัทมา อภิชัย, กนกพร เอกกะสิน สกุล. (2565). การสร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์โดยกระบวนการกลุ่มและการแปรรูปด้วยนวัตกรรมพร้อมใช้ เพื่อสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของพื้นที่ตำบลหัวเมืองอำเภอ เมืองปานจังหวัดลำปาง. วารสารการจัดการและการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(2), 15-32.

ธวัชชัย รัตน์ชเลศ, พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ. (2550). การพัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกรเพื่อการผลิตไม้ผล คุณภาพส่งออกตามแนวทางปฏิบัติ “โรงเรียนเกษตรกร”. วารสารเกษตร, 23(2), 173-183.

สว่าง แป้นจันทร์, ปุณณ มีสัจจกมล. (2559). การประเมินห่วงโซ่คุณค่าตลอดวัฏจักรชีวิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของมะม่วง ไทย. Kasetsart Engineering Journal, 29(96), 65-78

สุทธิสา วัดสิงห์, สายชล ปิ่นมณี. (2564). การประยุกต์ใช้แนวความคิดลีนในการปรับปรุงกระบวนการผลิตใน บริษัทผลิตเคมีภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิชาการศรีปทุมชลบุรี Sripatum Chonburi Journal, 18(2), 146-157.

สาวิตรี สาม เรืองศรี, ชัยวัฒน์ แซ่ไหล. (2560). ศึกษาความต้องการพัฒนาขีดความสามารถของตนเองของ พนักงานบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครจังหวัดชลบุรี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 5(2), 130-144

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, อภิรดี โนนนอก. (2566). แนวทางการพัฒนา บริษัท TKN จำกัด เข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 4 วัฒนธรรมสีเขียว. วารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสารคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 2(2), 83-93.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, เอกราช ยอดคำ, ธิติพงศ์ ลิ้มเลิศฤทธิ์, ปรีญา ศรีจันทร์และพิชิต ภาสบุตร. (2566). การออกแบบผลิตภัณฑ์เบาะรถยนต์อเนกประสงค์ของบริษัท MCE จำกัด . วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 1(2), 243-252.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, รุ่งนภา บาลเย็น. (2566). การลดของเสียในกระบวนการเย็บถุงลมนิรภัยที่กระบวนการเย็บเรื่องด้ายพันเสา. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 1(2), 168-174.

ณฐาพัชร์ วรพงพัชร์, อนุรักษ์ นวพรไพศาล และ ฤาชุตา วงศ์ชูเวช. (2565). การพัฒนาประสิทธิภาพของพนักงานขับรถขนส่งสารเคมี. วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 6(2), 45-78.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, ไตรทิพย์ สีจัน. (2566). การลดของเสียในกระบวนการผลิตกรณีศึกษา สายการผลิตโครงสร้างของรถแทรคเตอร์ บริษัท CCC จำกัด. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 3(2), 1-11.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, ชาญ มีบุญธรรม, รุ่งทิวา ชูทอง, ปรีญา ศรีจันทร์และ รัฐวิชญ์ วัจนปรีชาศักดิ์. (2566). การประยุกต์ใช้ระบบการผลิตแบบลีน เพื่อลดต้นทุนในกระบวนการผลิต ของผลิตภัณฑ์คุมหิว ชนิดเจลลี่ วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ, 2(1), 1-13.

อัยรดา พรเจริญ, นันทชัย สิงห์สถิตย์, พลพัฒน์ โลนะจิตร, อาทิตยา สายเสมา. (2563). การบริหารจัดการ ผู้นำด้านต้นทุนการผลิตและการจัดการความรู้ที่มีผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่ง ออกกรณีศึกษาด่านพรมแดนช่องเม็ก. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 22(1), 11-18

Chomsuk, U., Saraphat, S. (2021). อิทธิพลของการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์การต่อผลิตภาพของการผลิตที่ไม่เป็นตัวเงินในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ (เรซิ่น) ในประเทศไทย. KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 9(2), 73-94.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-02

How to Cite

วรพงศ์พัชร์ ณ., & จิโรจยนตรกิจ น. . (2024). การเพิ่มขีดความสามารถในไลน์การผลิตของสายการผลิตผงซักฟอก อุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online), 2(2), 497–504. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/538