นโยบายหาเสียงของพรรคพลังประชารัฐ: บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

ผู้แต่ง

  • ภคอร จตุพรธนภัทร รป.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ, พรรคพลังประชารัฐ, นโยบายประชานิยม

บทคัดย่อ

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ “บัตรคนจน” ภายใต้โครงการประชารัฐสวัสดิการ เป็นมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ในสมัยรัฐบาลที่มีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สามารถใช้เพื่อลดหย่อนค่าสินค้าอุปโภคบริโภค บริการ และค่าเดินทาง ถูกกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น “นโยบายประชานิยม” ที่รัฐบาลยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)  ต้องการดึงคะแนนความนิยมจากประชาชนเพื่อเตรียมการ “สืบทอดอำนาจ” พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ แถลงข่าวเปิดนโยบายหลักของพรรคฯ ที่จะใช้หาเสียงเลือกตั้ง 2566 ซึ่งนโยบายนี้เป็นมาตรการบรรเทาค่าครองชีพ เพิ่มเงินช่วยเหลือผู้พิการ เพิ่มเงินช่วยเหลือเกษตรกร  เพิ่มเงินช่วยเหลือผู้ปกครองเด็ก เพิ่มเงินช่วยเหลือผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเพิ่มเงินช่วยเหลือแก่ผู้ที่ถือ “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ”  พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 80.84 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะประชาชนผู้มีรายได้น้อยจะได้นำเงินไปใช้จ่ายเป็นค่าครองชีพ  ดังนั้นในประเด็นนี้จะชี้ให้เห็นว่า นโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ถือกาเนิดขึ้นมาในโลกนี้มายาวนานกว่า 40 ปี สาหรับในประเทศไทยนั้นแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นแนวคิดที่อยู่ภายใต้กรอบของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่เน้นทางสายกลางครอบคลุม 3 มิติคือ มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคม และมิติด้านสิ่งแวดล้อม

References

กรมสรรพสามิต. (2562). ทำไมรัฐบาลจึงต้องเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจ. สืบค้น 11 มิถุนายน 2566 จาก https://www.excise.go.th/region1/Data_warehouse/KNOW_REGION12019/UATUCM369167

บีบีซี. (2566). บัตรประชารัฐ: 5 ปี “บัตรคนจน” ในวันที่ พปชร. หาเสียงเพิ่มเงินเป็น 700 บาท. สืบค้น 11 มิถุนายน 2566 จาก https://www.bbc.com/thai/articles/cw8gxg7qn46o.

ฐิติโชติ จารุโศภิตกุล. (2561). ผลกระทบของการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐต่อประชาชน : กรณีศึกษาอำเภอเมืองตรัง และอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง.

ธีรศิลป์ กันธา. (2564). บัตรสวัสดิการแห่งรัฐกับการพัฒนาที่ยั่งยืน. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 5. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

นิด้าโพล. (2566). บัตรสวัสดิการแห่งรัฐกับการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย ? สืบค้น 11 มิถุนายน 2566 จาก https://nidapoll.nida.ac.th/survey_detail?survey_id=153.

นันทพันธ์ คดคง. (2564). นโยบายสาธารณะสำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

วิชาญ ทรายอ่อน. (2560). โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ. สืบค้น 11 มิถุนายน 2566 จาก http://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2560/hi2560-014.pdf.

วีระวัฒน์ ภัทรศักดิ์กำจร. (2564). ปัญหากระบวนการกาหนดนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ. กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และคุปต์ พันธ์หินกอง. (2553). เศรษฐศาสตร์การเมืองของระบบสวัสดิการใน

การสัมมนาวิชาการประจำปี 2553 "การลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ". กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สันติ ถิรพัฒน์ เเละวิมุต วานิชเจริญธรรม. (2558). การประเมินผลกระทบของโครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกรเบื้องต้น (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรรถสิทธิ์ พานแก้ว. (2561). บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ. สืบค้น 11 มิถุนายน 2566 จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.

Khemani, S. (2015). Buying Votes Versus Supplying Public Services: Political Incentives to

Under-Invest in Pro-Poor Policies. Journal of Development Economics, 117(c), 84-83.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29