การศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานอาคารสถานที่ของโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตท่าบ่อ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย

ผู้แต่ง

  • วรนัฐ นามปัญญา คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี
  • นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี

บทคัดย่อ

     การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานอาคารสถานที่ของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตท่าบ่อ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 127 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจงกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันการศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานอาคารสถานที่ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามความคิดเห็นของครู ภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการใช้อาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม รองลงมา คือ ด้านการควบคุมดูแลอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ด้านการประเมินผลการใช้อาคารสถานทีและส่งแวดล้อม ด้านการบำรุงรักษาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการจัดสร้างอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม 2. แนวทางการพัฒนาการศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานอาคารสถานที่ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมอย่างเพียงพอแก่บุคลากร รองลงมา คือ ผลการประเมินการใช้อาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม มาปรับปรุงให้เอื้อและสะดวกต่อการใช้อาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมต่อไป ผู้บริหารแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุครุภัณฑ์ ดำเนินการตามกฎระเบียบทั้งก่อนใช้และหลังใช้งาน ผู้บริหารจัดให้มีการแก้ไข ปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่ชำรุดทรุดโทรมให้ใช้ได้ดีคงเดิม และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ผู้บริหารเปิดโอกาสให้บุคลากรในโรงเรียน และชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนจัดสร้างอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กันต์ฤทัย นามมาลา แลคณะ. (2560). ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. ปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ขวัญพิชชา มีแก้ว. (2562). การบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหบัณฑิต กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). จันทบุรี: บัณฑิตวิทยำลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ตรีสุคนธ์ คูนาเอก. (2563). แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. การศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เตือนใจ ไพคำนาม. (2553). สภาพและปัญหาการบริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี)

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์. สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2557). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัทตีรณสาร จำกัด.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2555). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

พัชญ์พิชา จันทา. (2563). แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ภัทราภรณ์ คล้ายแก้ว. (2561). ศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13 ปี การศึกษา 2561 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

วิศิษฐ์ ชาญสุข. (2559). การบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). เยาวชนกับการมีส่วนร่วมพัฒนาประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อนุชิต สุขกสิ (2560). การศึกษาบทบาทการบริหารสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจัดหวัดระยอง จันทบุรี และตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

อัยลดา บุญวัฒน์. (2562). ได้ศึกษาแนวทางการพัฒนางานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา.

Cronbach, L. J., & et al. (1980). Toward Reform of Program Evaluation. San Francisco: Jossey-Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-02

How to Cite

นามปัญญา ว., & บุญจิตราดุลย์ น. . (2024). การศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานอาคารสถานที่ของโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตท่าบ่อ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย . วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online), 2(2), 505–518. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/432