การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี
คำสำคัญ:
การบริหารงานบุคคล, ผู้บริหารสถานศึกษา, โรงเรียนมัธยมศึกษา, เทศบาลนครอุดรธานีบทคัดย่อ
วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานบุคคลและแนวทางพัฒนา การบริหารงานบุคคลกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 121 คน เครื่องที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามมาตราวัดประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 - 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์ในการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยในแต่ละด้านจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการสรรหาบุคลากร ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการให้พ้นจากงาน ด้านการรวมพลัง ด้านการธำรงรักษา และการให้ค่าตอบแทน 2) แนวทางพัฒนาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา คือ ควรมีการวางแผนอัตรากำลังคนประเมินความต้องการกำลังคนกับภารกิจของสถานศึกษา และมีกระบวนการคัดเลือกบุคลากร พิจารณาจากคุณธรรม จริยธรรม และควรเน้นความโปร่งใส่ในการคัดเลือกบุคลากร ไม่ควรมีระบบอุปถัมภ์หรือระบบเครือญาติ ควรส่งเสริมให้ครูและบุคลากรเข้ารับการอบรมในหมวดวิชาต่าง ๆ และในหน้าที่รับผิดชอบของตนเอง การให้ค่าตอบแทน ควรมีการให้ค่าตอบแทนเพิ่มเติม เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่ครูและบุคลากร และควรใช้หลักความยุติธรรมในการพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือน ควรมีการจัดกิจกรรมที่สร้างสัมพันธภาพระหว่างครูและบุคลากรให้มีความรักความสามัคคีกันในหมู่คณะ ควรสร้างขวัญกำลังใจให้กับครูและบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ควรมีความยุติธรรม และมีแนวทางในการช่วยเหลือดูแลบุคลากรที่พ้นจากงาน
References
กันต์ฤทัย นามมาลา, อภิสิทธิ์ ทองดี, และจิรภัทร สุขสม. (2560). การพัฒนาแบบวัดทักษะการอ่านภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา,14(2), 1-15.
เทศบาลนครอุดรธานี. (2566). วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2566 จาก http://th.wikipedia.org/wiki/เทศบาลนครอุดรธานี.
นวพัชญ์ ฉีดจันทร์. (2564). การบริหารงานบุคคลกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์:มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ภัทราภรณ์ คล้ายแก้ว. (2561). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชัยนาทพิทยาคม. วารสารภาษาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยนาท, 18(2), 1-21.
ตรีสุคนธ์ คูนาเอก .(2561). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชัยนาทพิทยาคม. วารสารภาษาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยนาท, 18(2), 1-21.
พัชญ์พิชา จันทา. (2561). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชัยนาทพิทยาคม. วารสารภาษาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยนาท, 18(2), 1-21.