การพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกพืชไม้เศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีคุณภาพในพื้นที่เสื่อมโทรม กรณีศึกษากลุ่มชุมชนภาคกลางตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมชุมชน ผู้ประกอบการ การท่องเที่ยว และการศึกษา

คำสำคัญ:

การบูรณการ, การถ่ายทอดเทคโนโลยี, ไม้เศรษฐกิจ, พื้นที่เสื่อมโทรม

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการบูรณการและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกพืชไม้เศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีคุณภาพในพื้นที่เสื่อมโทรม กรณีศึกษากลุ่มชุมชนภาคกลางตอนล่างมีวัตถุประสงค์ 1เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่เสื่อมโทรมเขตพื้นที่ภาคกลางตอนล่างและกำหนดต้นแบบการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่เสื่อมโทรม 2.การจัดการองค์ความรู้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มขีดความสามารถ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบจากการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่เสื่อมโทรมในพื้นที่จากภูมิปัญญาชุมชนแบบมีส่วนร่วมให้แก่กลุ่มชุมชนเพื่อความยั่งยืนในชุมชน  3.การจัดการพื้นที่โดยใช้ Cultural Mapping ในการบริหารจัดการชุมชนบนพื้นที่จากภูมิปัญญาชุมชนแบบมีส่วนร่วมให้แก่กลุ่มชุมชนเพื่อความยั่งยืนในชุมชนเพื่อลดการทำลายการรักษาธรรมชาติ สร้างความสมดุล คน น้ำ ป่า เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มในพื้นที่ 4.การสร้างรายได้และเพิ่มศักยภาพและความสัมพันธ์ของการจัดการเกษตรแบบมีส่วนร่วมให้แก่กลุ่มชุมชนเพื่อความยั่งยืนในชุมชนพื้นที่การศึกษาได้เลือกตำบลหนองปลาหมอ อำเภอบ้าโป่ง จังหวัดราชบุรีและไร่สุขใจ จังหวัดราชบุรีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์การวิจัยโดยวิธีหาความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่เสื่อมโทรมเขตพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง โดยรวมลักษณะพื้นที่เป็นพื้นที่เสื่อมโทรม 2) การจัดการองค์ความรู้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มขีดความสามารถการจัดการด้านบุคลากร แบบมีส่วนร่วมให้แก่กลุ่มชุมชนเพื่อความยั่งยืนในชุมชน 3) การปลูกพืชเศรษฐกิจการบริหารจัดการชุมชนบนพื้นที่จากภูมิปัญญาชุมชนแบบมีส่วนร่วมให้แก่กลุ่มชุมชนทำให้ชุมชนมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นควบคู่กับการจัดการพื้นที่ และ 4)การสร้างรายได้และเพิ่มศักยภาพและความสัมพันธ์ของการจัดการเกษตรแบบมีส่วนร่วมโดยใช้หลักความรับผิดชอบต่อสังคม

References

กลยุทธ์ หนูดำ, ปัญญา เลิศไกร และลัญจกรณ์ นิลกาญจน์. (2014). การพัฒนารูปแบบการผลิตทุเรียนนอกฤดูกาลของเกษตรกร. Narkbhutparitat Journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, 6(2), 63-73.

ชาติชาย ไวยสุระสิงห์, และชุติมา ไวยสุระสิงห์. (2022). การ ประยุกต์ใช้กระบวนการตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์ควบคู่กับแบบจำลองเซลลูล่าออโต้มาต้ามาคอฟในการประเมินพื้นที่ที่ มี ศักยภาพในการเพาะปลูกพืชน้ำมันที่ไม่ใช่พืชอาหารในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 27, 27(1), SGI02-1.

ธวัชชัย ขัวลำธาร และ กฤษณา ไวสํารวจ. (2021). การเมืองในมาตรฐานข้าวอินทรีย์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 5(1), 72-84.

พสุธา สุนทรห้าว และวุฒิพล หัวเมือง แก้ว. (2010). ศักยภาพด้านเศรษฐกิจสังคมของไม้ตะกูและโอกาสความเป็นไปได้ของการลงทุนปลูกสร้างสวนป่า. วารสารวนศาสตร์ ไทย, 29(2), 50-63.

นภาพร สุพงษ์. (2015). การมีส่วนร่วมของบุคลากรกับการขับเคลื่อนภารกิจด้านความรับผิดชอบต่อ สังคมและสิ่งแวดล้อมธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. INTEGRATED SOCIAL SCIENCE JOURNAL, FACULTY OF SOCIAL SCIENCES AND HUMANITIES, MAHIDOL UNIVERSITY, 2(2), 167-187.

วรรณชา กาญจนมุสิก. (2554). การทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ที่มีผลต่อการตัดสินใจ เลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

แสนใจ พรม และสายฝน. (2015). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาสื่อการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในชุมชน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-30