แนวทางการบริหารภาครัฐเพื่อแก้ปัญหาความยากจน
คำสำคัญ:
แนวทางการบริหารภาครัฐ, ความยากจน, การแก้ไขบทคัดย่อ
ปัญหาความยากจนได้เพิ่มความรุนแรงตามการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม สาเหตุหนึ่งเกิดจากการพัฒนาตามทิศทางของประเทศที่พัฒนาแล้วโดยขาดการปรับใช้ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย แนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจนที่สำคัญคือการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และบทบาทภารกิจจากที่เน้นบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งหน่วยงานส่วนกลางและระดับท้องถิ่นมาสู่การเพิ่มบทบาทของภาคประชาชน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะเป็นส่วนสำคัญที่เปิดโอกาสให้ชุมชนได้สะท้อนสภาพปัญหาในท้องถิ่นของตน ซึ่งจะช่วยให้โครงการและกิจกรรมในการแก้ไขปัญหาความยากจนที่ภาครัฐดำเนินการ มีความสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และเข้าถึงคนจนมากยิ่งขึ้น มีการการเพิ่มศักยภาพของคนจนวัยทำงาน โดยเน้นการพัฒนาโอกาสการเรียนรู้ ทักษะปัญญาและการเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจด้านทักษะการประกอบอาชีพและการเพิ่มรายได้ โดยประยุกต์การจัดการศึกษาที่สามารถเก็บเครดิตสะสมไว้กลับมาเรียนต่อเมื่อพร้อม ควบคู่กับใช้มาตรการทางการเงินและการคลังเพื่อการศึกษา เช่น สินเชื่อเพื่อการศึกษา รวมทั้งขยายขอบข่ายกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งปัจจุบันให้เฉพาะคนวัยเรียน และให้ครอบคลุมคนวัยทำงาน
References
กนกวรรณ มะโนรมย์ และคณะ. (2565). ความจน ความหมายและปฏิบัติการ กรณีศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญ. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2543). ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และคณะ สุเมธ แก่นมณีและคณะ. (2549). นโยบายกระจายอำนาจและเพิ่มพลัง ให้แก่ท้องถิ่น ศึกษาการทำงานเชิงบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐในการลดความยากจน. รายงานโครงการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
ธนพล สราญจิตร์. (2558). ปัญหาความยากจนในสังคมไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 5(2), 12-21.
ธนาคารโลก. (2018). ระบบการเงินระหว่างประเทศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2564 จาก https://www.stou.ac.th/stouonline/LOM/data/sec/Lom20/03-02-02.html.
วิทยากร เชียงกูล. (2547). พัฒนาการแบบยั่งยืนกับการแก้ปัญหาคนจน. กรุงเทพมหานคร อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2544). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่เก้า (พ.ศ. 2545-2549). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
องค์การสหประชาชาติประเทศไทย. (ม.ป.ท.). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs). สืบค้น วันที่ 14 สิงหาคม 2564 จาก https://thailand.un.org/th/sdgs.
TPMAP. (2566). มิติของความยากจน. สืบค้น วันที่ 15 เมษายน 2566 จากเว็บไซต์ https://www.tpmap.in.th/ about.