แนวคิดและทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานของการจัดการภาครัฐแนวใหม่
คำสำคัญ:
แนวคิด, ทฤษฎี, การจัดการภาครัฐแนวใหม่บทคัดย่อ
องค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์มีโฉมหน้าเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก สิ่งที่เคยศึกษากันในเรื่องของการจัดองค์การและระบบการบริหารราชการภาครัฐแบบดั้งเดิมอาจไม่เพียงพอต่อการจัดระบบการบริหารงานภาครัฐให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนที่มีลักษณะเป็นพลวัตรมากขึ้นอีกต่อไป ความเข้าใจถึงองค์ความรู้ใหม่ ที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพของระบบการบริหารภาครัฐในการตอบสนองต่อผลประโยชน์สาธารณะจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง การปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการภาครัฐ โดยนำหลักการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบราชการและการแสวงหาประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ เช่น การบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์การบริหารงานแบบมืออาชีพ การคำนึงถึงหลักความคุ้มค่า การให้ความสำคัญต่อค่านิยม จรรยาบรรณวิชาชีพ ตลอดทั้งการมุ่งเน้นการให้บริการแก่ประชาชนโดยคำนึงถึงคุณภาพเป็นสำคัญ ลักษณะสำคัญของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการบริหารงานภาครัฐให้มีความทันสมัยเหมือนภาคเอกชน มีลักษณะสำคัญ ได้แก่ การควบคุมผลผลิต และผลลัพธ์ มีความเป็นสากล ให้อิสระและความคล่องตัวแก่ผู้บริหาร และให้ความสำคัญต่อเรื่องทักษะการบริหารจัดการมากกว่าการกำหนดนโยบาย ปรับเปลี่ยนโครงสร้างหน่วยงานราชการใหม่ให้มีขนาดเล็กลง รวมทั้งการประยุกต์ใช้วิธีการจัดจ้าง และการแข่งขันประมูลงานเพื่อลดต้นทุน มีการสร้างแรงจูงใจ และให้รางวัลตอบแทนมากขึ้นสร้างระเบียบวินัย และความประหยัดในการใช้จ่ายเงินงบประมาณโดยพยายามลดต้นทุนค่าใช้จ่าย และเพิ่มผลผลิต
References
สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง. (2563). เอกสารคำสอน การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์บุ๊คคอเปอเรชั่น จำกัด.
ปกรณ์ ศิริประกอบ. (2560 ). 3 พาราไดม์ทางรัฐประศาสตร์: แนวคิด ทฤษฎี และการนำไปปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กฤชาหณ์ณ์ โถ่วัชรินทร์. (2563). โฉมใหม่ของการบริหารภาครัฐในสตวรรษที่ 21. ขอนแก่น: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พีระสิทธิ์ คำนวณศิลป์ และธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา. (2559). พัฒนาการการบริหารภาครัฐไทย จากอดีตสู่อนาคต. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
เนตร์พรรณนา ยาวิราช. (2560). การจัดการสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ทริปเปิ้ล กรุ๊ป จำกัด.
วรเดช จันทรศร. (2541). แผนปฏิรูประบบราชการ: การสร้างการยอมรับ และความสำเร็จในการนำไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สหายบล็อกและการพิมพ์.
นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์. (2560). หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โสภารัตน์ จารุสมบัติ. (2562). พลิกภาครัฐสู่การบริหารจัดการยุคใหม่. ปทุมธานี: ศูนย์วิจัยดิเรกชัยนาม คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Hood Christopher. (1991). “A Public Management for all seasons” Public Administration. 69(1). https://onlinelibrary.wiley.com/journal/14679299.
Boston J. (2010). Basic NPM ideas and their development. In T. Christensen & P. Laegreid (Eds).
Larbi, G. A. (1999). The New Public Management Approach and Crisis States. Geneva: UNRISD.