พาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์

ผู้แต่ง

  • วรัญญู บุตรมหา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

พาราไดม์, รัฐประศาสนศาสตร์

บทคัดย่อ

พัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์เป็นหัวเรื่องที่มีความสำคัญ นักวิชาการ รัฐประศาสนศาสตร์ได้อธิบายหัวเรื่องนี้ผ่านแนวคิดเรื่องพาราไดม์ อย่างไรก็ดีกลับมีข้อสงสัยจากการอธิบายด้วยแนวทางดังกล่าวอย่างน้อยสามประการ คือ 1) เหตุใดจำต้องศึกษาพัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตโดยใช้คำว่าพาราไดม์ 2) หากไม่ใช้แนวคิดเรื่องพาราไดม์สามารถใช้แนวคิดอื่นใดในการอธิบายพัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ และ 3) แนวทางการศึกษาพัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ในปัจจุบันควรเป็นเช่นไร ทั้งนี้ศึกษาจากแนวคิดของนักวิชาการทั้งรุ่นบุกเบิกและนักคิดร่วมสมัย พบว่า 1) เหตุที่ใช้ว่าพาราไดม์ในการศึกษาประเด็นพัฒนาการเพราะรัฐประศาสนศาสตร์มีความเป็นมายาวนานยากที่จะอธิบายสาระได้ทั้งหมดจึงใช้แนวคิดเรื่องพารไดม์เพื่อสรุปเฉพาะสาระสำคัญที่นักรัฐประศาสนศาสตร์เห็นร่วมกันในแต่ละช่วงเวลาและแนวคิดนี้ยังมีลักษณะพิเศษที่เชื่อว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดหรือพาราไดม์มีตามความเหมาะสม 2) หากไม่ใช้แนวคิดเรื่องพารไดม์สามารถใช้แนวคิดอื่นในการอธิบายพัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ได้อย่างน้อย 3 แนวทาง ประกอบด้วย แนวการศึกษาที่ใช้มิติของเวลา มิติของขอบเขตและจุดเน้น และแนวทางที่ใช้มิติของหน่วยวิเคราะห์ และ 3) แนวทางการศึกษาพัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ในปัจจุบันผู้เขียนเห็นว่าควรแบ่งพัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ออกเป็นสามช่วงเวลา ประกอบด้วย ช่วงเวลาของยุคดั้งเดิม ช่วงเวลาของวิกฤตการณ์ด้านเอกลักษณ์ และช่วงเวลาของการใช้คำว่า "ใหม่"

References

กฤษณ์ รักชาติเจริญ. (2557). การจัดการบริการสาธารณะ: จากมุมมองของการพัฒนา การจัดการภาครัฐ. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการมหาวิทยาลัยมหิดล, 1(1), 21-32.

กีรติ บุญเจือ. (2548). บทบาทของกระบวนทัศน์ในการสอนปรัชญา. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 30(1), 258-262.

เฉลิมพล ศรีหงส์. (2538). พัฒนาการและแนวโน้มของการศึกษาการบริหารรัฐกิจ: ศึกษาในเชิงพาราไดม์, ในคณาจารย์ภาควิชาบริหารรัฐกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (บก.). การบริหารรัฐกิจ.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชาย โพธิสิตา. (2547). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. นครปฐม: สถาบันวิจัย ประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณ ภัทรดิศ สุริยกมลจินดา. (2548). กระบวนทัศน์ในการสอนปรัชญา. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 30(1).

เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์. (2552). ภาพรวมและแนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์. ในเทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ (บก.). ประมวลสาระชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการรัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 1 (น. 1-50). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นราธิป ศรีราม, กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย, และชลัช ชรัญญ์ชัย. (2556). การสังเคราะห์แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์. (2558). แนวคิดการบริหารงานสาธารณะ: จากภาครัฐสู่ภาคพลเมือง. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 2 (3), 36.

นิศา ชูโต. (2548). การวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: พริ้นต์โพร.

นิศาชล พรหมรินทร์. (2555). วิวัฒนาการกระบวนทัศน์รัฐประศาสนศาสตร์ไทย: บทสำรวจวรรณกรรมรัฐ ประศาสนศาสตร์ไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิทยา บวรวัฒนา. (2538). รัฐประศาสนศาสตร์: ทฤษฎีและแนวการศึกษา (ค.ศ. 1887- ค.ศ. 1970) และ (ค.ศ. 1970 - ปัจจุบัน). กรุงเทพฯ: ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-30