กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุกของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, การประชาสัมพันธ์, หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตบทคัดย่อ
การประชาสัมพันธ์เชิงรุกเป็นกระบวนการสื่อสารการให้ข้อมูลที่องค์กรกำหนดขึ้นมาเพื่อถ่ายทอด ข้อมูลโดยการสร้างสรรค์วิธีการใหม่ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการดำเนินการ ประชาสัมพันธ์เชิงรุกของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และ (2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุกของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ผู้บริหารหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 15 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพการประชาสัมพันธ์ของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีจำนวน 5 ด้าน ได้แก่ การสร้างแผนกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์การสร้างเนื้อหาและการใช้สื่อ การจัดกิจกรรมและสัมมนา การใช้เครือข่ายความสัมพันธ์ และการติดตาม และวัดผล และ (2) กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุกของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม ประกอบด้วย (2.1) การสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ ควรสร้างความร่วมมือกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง สร้างชุมชนนักศึกษาและศิษย์เก่าที่มีส่วนร่วมกับหลักสูตร สามารถแชร์ประสบการณ์ การเรียนรู้ หรือผลประโยชน์ที่ได้รับจากหลักสูตร ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นและความน่าสนใจให้กับกลุ่ม เป้าหมาย (2.2) การประชาสัมพันธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม แบบออนไลน์มีขั้นตอน ดังนี้ พัฒนาเว็บไซต์หลักสูตร นำเสนอเนื้อหาที่น่าสนใจ ใช้สื่อโซเชียลมีเดียการสร้างคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง และ (2.3) มีการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์สลับการจัดการเรียน การสอนในห้องเรียนตามโอกาสสมควร
References
ไชยา ยิ้มวิไล และสมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2563). การรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์และการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อหลักสูตร A มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 5(1), 53-67.
นันท์ธนภัส อัศวณัฏฐกร. (2559). การรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์และปัจจัย ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษา ต่อของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ปัทมาพร ประทุมถิ่หน้า (2549). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7. วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
พจนา พิชิตปัจจา และคณะ. (2561). การสร้างสื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรที่เหมาะสมสำหรับคนยุคดิจิทัล (Generation Z). คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ทุนวิจัยสถาบันเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการงานวิจัย พ.ศ. 2561. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ. (2546). การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจิตร อาวะกุล. (2541). เทคนิคการประชาสัมพันธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิทธานต์ ดีลหน้า. (2560). สื่อการประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. (2566). รายงานการประเมินหลักสูตร 2566. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Cutlip, S.M. and Center, A.H. (1978). Effective public relations (5th ed.). Englewood Cliff,. NJ: Prentice-Hall.
Taylor, M. and Kent, M.L. (2010). Anticipating Socialization in the Use of Social Media in Public Relations: a Content Analysis of PRSA’s Public Relations Tactics. Public Relations Review, 36(1), 207-214.