ภาพสะท้อนความเหลื่อมล้ำของสังคมผ่านภาพยนตร์ “วิมานหนาม”
คำสำคัญ:
ความเหลื่อมล้ำ, สัญวิทยา, ภาพยนตร์, วิมานนามบทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งวิเคราะห์การเล่าเรื่องในภาพยนตร์เรื่อง “วิมานหนาม” โดยใช้ทฤษฎีสัญวิทยา (semiology) เพื่อทำความเข้าใจความหมายที่แฝงอยู่ในภาพยนตร์ ซึ่งสะท้อนถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยผ่านการใช้คำว่า “หนาม” ในชื่อเรื่องที่สื่อถึงความเจ็บปวดและการดิ้นรนจากความไม่เท่าเทียมในมิติต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และเพศ ภาพยนตร์นี้ยังสะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงโอกาสต่าง ๆ โดยเฉพาะในชนบทที่มีการแบ่งชนชั้นอย่างชัดเจน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1. ความเหลื่อมล้ำทางเพศและสิทธิมนุษยชน ที่สะท้อนผ่านเรื่องราวของคู่รักเพศเดียวกันที่ต้องเผชิญกับข้อจำกัดทางกฎหมาย 2. ความเหลื่อมล้ำทางความเชื่อและค่านิยมในกลุ่มชาติพันธุ์ที่จำกัดบทบาทของผู้หญิงในฐานะผู้ดูแลครอบครัว 3. ข้อจำกัดทางเพศที่ทำให้ชายและหญิงมีโอกาสแตกต่างกัน และ 4. ความยากลำบากในการเข้าถึงสวัสดิการรัฐ โดยเฉพาะบริการสาธารณสุขในชนบทที่ขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน บทความนี้เสนอว่าภาพยนตร์ “วิมานหนาม” เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการใช้สัญวิทยาในการสะท้อนปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมในบริบทของสังคมไทยอย่างลึกซึ้ง
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2556). สื่อสารมวลชนทฤษฎีและแนวทางการศึกษาพิมพ์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). ห้างหุ้นส่วนจำกัดการพิมพ์.
จีดีเอช. (2567, 17 กรกฎาคม). แรงบันดาลใจจากความไม่เท่าเทียมสู่ภาพยนตร์เรื่องล่าสุดจาก GDH ร่วมกับ ใจ สตูดิโอ [วิดีโอ]. Facebook. https://www.facebook.com/watch/?v=488736073707285&ref=sharing.
ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ, สรินยา คำเมือง, สมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์, บุญสม ชีรณิชย์กุล และอธิตา สุนทโรทก. (2555). ปริศนาวงศาคณาญาติ “ลัวะ” ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
ชัยวัฒน์ ทวีวงศ์แสงทอง และสุมน อยู่สิน. (2558). การบริหารงานภาพยนตร์หน่วยที่ 6-10. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ไทยพับลิก้า. (2567). World Bank ประเมิน Real GDP ไทยปี 2567 ที่ 2.4% ตามหลังอาเซียน. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2568 จาก https://thaipublica.org/2024/10/world-bank-east-asia-and-pacific-economic-update/.
ปริญญา ฉิมบรรเลง, พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ และนพดล อินทร์จันทร์. (2568). การประกอบสร้างภาพยนตร์ชายรักชายของเวียดนาม ระหว่าง ปี 2007-2020. Journal of Arts and Thai Studies, 47(1), E4054(1-20).
พระครูวิมลสุวรรณกร (สมพงษ์ จนฺทวโร). (2568). การศึกษากฎหมายการสมรสเท่าเทียมในประเทศไทย: ความเสมอภาคในเพศทางเลือก. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 8(2), 202–216.
รณภูมิ สามัคคีคารมย์. (2567). การยอมรับของครอบครัวและการรับรู้ผลต่อสุขภาพของชายรักชายในพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก. วารสารสหศาสตร์, 24(1), 68–85.
วรัชญ์ตะวันทร์ ชัยรัตน์, ณัฐธิดา คำประเสริฐ และชนณเกษม โคตรบัวศรี. (2567). แนวโน้มและผลกระทบของเนื้อหาภาพยนตร์ไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา. วารสารธรรมเพื่อชีวิต, 30(3), 269–289.
วิสุทธิ์ ชลธาร และกฤษดา เกิดดี. (2567). การศึกษาวิเคราะห์ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาว่าด้วยความรุนแรง. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 28(2), 140–148.
สุรชัย ศรีนรจันทร์. (2567). พฤติกรรมการใช้สื่อและผลกระทบจากการท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง. วารสารวิชาการนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 11(1), 83–100.
Allen, R. C., & Gomery, D. (1985). Film history: Theory and practice. McGraw-Hill Companies.
Barthes, R. (1977). Image, music, text. (Heath, S. Trans.). Fontana Press.
Chandler, D. (2007). Semiotics: The basics (2nd ed.). Routledge.
Eco, U. (1979). A theory of semiotics. Indiana University Press.
Giddens, A., & Sutton, P. W. (2009). Sociology. (6th ed.). Polity Press.
Marx, K. (1903). Das Kapital: Kritik der politischen Oekonomie. Meissner.
Metz, C. (1974). Film language: A semiotics of the cinema. (Taylor, M. Trans.). Oxford University Press.
Monaco, J. (2009). How to read a film: Movies, media, and beyond (4th ed.). Oxford University Press.
Peirce, C. S. (1974). Collected papers of Charles Sanders Peirce (Vol. 5, Weiss, P. Ed.). Belknap Press of Harvard University Press.
Phongpaichit, P., & Baker, C. (2002). Thailand, economy and politics (2nd ed.). Oxford University Press.
Rawls, J. (1999). A theory of justice. Oxford University Press.
Romanow, L. (2012). The women of Thailand. Global Majority E-Journal, 3(1), 44–60.
Saussure, F. de. (2006). Writings in general linguistics. Oxford University Press.
Stam, R. (1992). New vocabularies in film semiotics: Structuralism, post-structuralism and beyond. Routledge.
Weber, M. (1968). Economy and society: An outline of interpretive sociology (Roth, G. & Wittich, C. Eds.). Bedminster Press.
World Bank. (2020). Thailand economic monitor: Thailand in the time of COVID-19. World Bank. https://documents1.worldbank.org/curated/en/456171593190431246/pdf/Thailand-Economic-Monitor-Thailand-in-the-Time-of-COVID-19.pdf.