การวิเคราะห์ผลการนำนโยบายสาธารณะสู่การปฏิบัติ : นโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองกองทุนละ 1 ล้านบาท

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ลดา ธีระมนต์ปราณีต คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

นโยบายสาธารณะ, กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง, กองทุนละ 1 ล้านบาท

บทคัดย่อ

กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองหรือกองทุนละ 1 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนละ 1  ล้านบาท เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชนเมืองสำหรับการลงทุนเพื่อการพัฒนาอาชีพ สร้างงานสร้างรายได้หรือเพิ่มรายได้ ชุมชน การลดรายจ่ายการบรรเทาเหตุฉุกเฉินและจำเป็นเร่งด่วน เป็นแหล่งเงินกู้ยืมหมุนเวียนที่ช่วยสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนในการจัดตั้ง “กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ” เสมือนเป็นการกระจายอำนาจในการบริหารประเทศในรูปแบบหนึ่งของรัฐบาลที่ประชาชนมีสิทธิในการบริหารงานอย่างอิสระ ซึ่งรัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายเพื่อให้แน่ใจว่าเงินทุนจะกระจายออกไปยังภาคส่วนต่าง ๆ มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชุมชนและประชากรทั้งหมด ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษาและสรุปผลจากการนำนโยบายสาธารณะสู่การปฏิบัติตามปรัชญากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ  โดยจำแนกตามด้านผลกระทบเชิงบวกและเชิงปัญหาของการกองทุนหมู่บ้านและชุมชน ในแต่ละประเด็น ดังนี้ 1. ด้านผลกระทบเชิงบวกของนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ได้แก่ 1) เสริมสร้างความเป็นชุมชนและท้องถิ่น  2) ชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคตและการจัดการหมู่บ้านและชุมชนด้วยคุณค่าและภูมิปัญญาของตนเอง 3) เกื้อกูลประโยชน์ต่อผู้ด้อยโอกาสในหมู่บ้านและชุมชน 4) เชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชน ราชการ เอกชน และประชาสังคม 5) กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและพัฒนาประชาธิปไตยพื้นฐาน  2. ด้านผลกระทบเชิงปัญหาของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ได้แก่ 1) ความไม่สมดุลระหว่างเงินทุนกับความต้องการ 2) ความไม่เป็นกลางของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 3) การผิดนัดชำระหนี้ของผู้กู้ 4) การขาดการแนะนำการใช้เงินให้ถูกตามวัตถุประสงค์ 5) คณะกรรมการกองทุนฯ ขาดแรงจูงใจในการทำงาน 6) ขาดสิ่งกระตุ้นหรือจูงใจให้ผู้กู้ชำระหนี้ 7) ขาดระบบการบริหารจัดการของกองทุนฯ ที่ดี และ 8) การกู้หนี้ใหม่มาหมุนเวียนชดใช้หนี้เก่า

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2566). "แพทองธาร"ประกาศ10นโยบาย พท.-ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท ป.ตรี 25,000 บ. การเมือง. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/politics/1041505.

กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. (2554). คู่มือดำเนินงาน โครงการเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระยะที่ 3. กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

ชนะพงษ์ กล้ากสิกิจ, สุรินทร์ นิยมางกูร และสุรพล สุยะพรหม. (2562). ประสิทธิผลการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 6(4), 786 – 802.

พรรคเพื่อไทย. (2564). กองทุนหมู่บ้าน นโยบายเพื่อแก้ปัญหาความยากจน. สืบค้นจาก https://ptp.or.th/archives/18333

ไพรินทร์ พฤตินอก. (2562). กองทุนหมู่บ้าน: ทุนทางสังคมในฐานะกระบวนการขับเคลื่อนกองทุนหมู่บ้านโนนสังข์. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 5(3), 126 – 148

ธัชพล ทีดี, จุฑามาศ พรรณสมัย และชลิดา แสนวิเศษ. (2565).การจัดการความรู้กองทุนหมู่บ้านชันสูตร หมู่ที่ 7 ตำบลโพชนไก่ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์. 13(2), 55-70.

นวกร สงวนศักดิ์โยธิน และชุลีรัตน์ เจริญพร. (2564). การขับเคลื่อนชุมชนผ่านกองทุนหมู่บ้านและบริษัทประชารัฐรักสามัคคี จำกัด ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. 11(3), 226-238.

นิตยา มีภูมิ (2563). การบูรณาการบริหารจัดการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์. 15(1), 76-91

รัฐบาลไทย (2566). นายกฯ เปิดงาน “ก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง” ย้ำ 3 บทบาทสำคัญกองทุนหมู่บ้านฯ เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียน สนับสนุนการออม จัด

ระบบสวัสดิภาพสร้างสวัสดิการ. ข่าวนายกรัฐมนตรี. สืบค้นจาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/64810

ราชกิจจานุเบกษา พุทธศักราช 2547 เล่ม 121 ตอนพิเศษ 85 ก 30 ธันวาคม 2547.

ราชกิจจานุเบกษา. (2548). เล่ม 122 ตอนพิเศษ 145ง ราชกิจจานุเบกษา 17 ธันวาคม 2548.

สุนทร ปัญญะพงษ์, อัญชลีชัยศรี, ทัศไนยวรรณ ดวงมาลา,วทัญญู ขำชัยภูมิ และวิมลศิลป์ ปรุงชัยภูมิ. (2562). การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านตามหลักธรรมาภิบาล: กรณีศึกษากองทุนหมู่บ้านช่อระกา ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการ มจร.บุรีรัมย์. 2(2), 27-37.

สุภาพร ศรีราพัฒน์ (2562). การนำนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองไปปฏิบัติ ภายใต้การดำเนินโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ กรณีศึกษากองทุนหมู่บ้าน หนองงูเห่า ตำบลศีรษะจรเข้น้อย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุวลังก์ วงศ์สุรวัฒน์, ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย และวฤษสพร ณัฐรุจิโรจน์. (2562). การบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระดับดีมาก: กรณีศึกษาจังหวัดนครปฐม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 7(3), 888- 898.

สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. (2551). คู่มือบัญชีสำหรับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. (2564). แผนฟื้นฟูประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. สืบค้นจาก http://www.villagefund.or.th/uploads/document/document_623084071eb7a.pdf.

อดิศักดิ์ วงศ์อ้ายตา. (2564). การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านของประชาชน ตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้นจาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/vlt15-2/6114993810.pdf.

Huhammad, Yunus. (2553). นายธนาคารเพื่อคนจน. แปลจาก เรื่อง Vers UN Monde sans pauvrete ของ Huhammad Yunus (สฤณี อาชวานันทกุล, แปล) (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มติชน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29