ศึกษารูปแบบกิจกรรม CSV การรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับและความสนุกสนานภายในงาน ที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการบอกต่อให้เข้าร่วมกิจกรรม CSV ของธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ธนวัฒน์ ขันธวิจิตร์ กลุ่มวิชาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • อริสรา เสยานนท์ สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและเรือสำราญ คณะการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คำสำคัญ:

การรับรู้ถึงประโยชน์, การสร้างคุณค่าร่วม, ผู้ประกอบการ, อาหารริมทาง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มุ่งศึกษาเพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นผู้ประกอบธุรกิจสตรีตฟูดที่มีต่อรูปแบบกิจกรรม CSV การรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับ และความสนุกสนานภายในกิจกรรม CSV ของธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษารูปแบบกิจกรรม CSV ที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการบอกต่อให้เข้าร่วมกิจกรรม CSV ของธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบการสตรีตฟูดในพื้นที่ดำเนินงานของธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร  จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่า IOC 0.67-1.00 และความเที่ยงตรง 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรม CSV ของธนาคารออมสิน พบว่า รูปแบบกิจกรรมออนไลน์และออนไซต์มีระดับการปฏิบัติสูงที่สุด การรับรู้ประโยชน์อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะการนำความรู้ไปใช้ในธุรกิจ ความสนุกสนานจากเวิร์กช็อปและกิจกรรมสันทนาการได้คะแนนสูงสุด และความตั้งใจบอกต่ออยู่ในระดับดี โดยเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคม ทั้งนี้รูปแบบกิจกรรม CSV มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจบอกต่อระดับปานกลาง การรับรู้ประโยชน์มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจบอกต่อระดับสูง และรูปแบบออนไซต์มีอิทธิพลมากที่สุด โดยตัวแปรทั้งหมดสามารถอธิบายความตั้งใจบอกต่อได้ 40.60% ตามสมการพยากรณ์ ความตั้งใจบอกต่อ = 0.908 + 0.042 (ออนไลน์) + 0.372 (ออนไซต์)

References

ธนาคารออมสิน. (2566). รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2566. กรุงเทพฯ: ธนาคารออมสิน. https://www.gsb.or.th/csr/gsbcsr/sustainability-reposts/report/.

บุญชม ศรีสะอาด. (2565). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

มติชนสุดสัปดาห์. (2566). ก.แรงงาน เปิดตัวโครงการส่งเสริมอาชีพ ปั้นแรงงานสู่ผู้ประกอบการร้านสตรีทฟู๊ด สร้างงานเพิ่มรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจ. สืบค้น 28 มีนาคม 2568 จาก https://www.matichon.co.th/weekly/pr/article_677140.

เรณุมาศ กุละศิริมา, นุจิรา รัศมีไพบูลย์, สุวรรณา พิชัยยงค์วงศ์ดี และเปรมฤทัย แย้มบรรจง. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาแบบองค์รวมเพื่อยกระดับคุณภาพอาหารท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการประกอบธุรกิจร้านอาหาร/ภัตตาคารและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ลัดดาวัลย์ เลขมาศ และแพรวพรรณ อินทรเกษม. (2562). แนวทางพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 39(2), 104–122.

วรรษมล แสนทวีสุข และกนกกานต์ แก้วนุช. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างประสบการณ์ผู้บริโภคอาหารสตรีทฟู้ดในกรุงเทพมหานคร ภายหลังการแพร่ระบาด COVID-19. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 5(2), 7–21.

วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2546). การวิเคราะห์และทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.

วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2558). ตำราหลักการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มาร์เก็ตติ้งมูฟ.

สุกัญญา รักพานิชมณี, วศินี ธรรมศิริ และสัจจา ดวงชัยอยู่สุข. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมกับผลการดำเนินงานด้านการเงินของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ นิด้า, 25, 140–157.

Hennig-Thurau, T., Gwinner, K. P., & Gremler, D. D. (2002). Understanding relationship marketing outcomes: An integration of relational benefits and relationship quality. Journal of Service Research, 4(3), 230-247.

Longenecker, J. G., Petty, J. W., Palich, L. E., & Hoy, F. (2016). Small Business Management: Launching & Growing Entrepreneurial Ventures (18th ed.). Cengage Learning.

Morgan, R. M., & Hunt, S. D. (1994). The commitment-trust theory of relationship marketing. Journal of Marketing, 58(3), 20-38.

Reynolds, K. E., & Beatty, S. E. (1999). Customer benefits and company consequences of customer-salesperson relationships in retailing. Journal of Retailing, 75(1), 11-32.

Richins, M. L., & Root-Shaffer, T. (1988). The role of involvement and opinion leadership in consumer word-of-mouth: An implicit model made explicit. Advances in Consumer Research, 15(1), 32-36.

Zeithaml, V. A., & Bitner, M. J. (2000). Services marketing: Integrating customer focus across the firm (2nd ed.). McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-07-02

How to Cite

ขันธวิจิตร์ ธ., & เสยานนท์ อ. (2025). ศึกษารูปแบบกิจกรรม CSV การรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับและความสนุกสนานภายในงาน ที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการบอกต่อให้เข้าร่วมกิจกรรม CSV ของธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 3(2), 674–686. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1668