ความต้องการพัฒนาวิชาชีพของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ สถานศึกษาภาครัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
คำสำคัญ:
การพัฒนาวิชาชีพ, ครูภาษาอังกฤษ, สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาวิชาชีพของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในสถานศึกษาภาครัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาวิชาชีพของครูตามปัจจัยด้านเพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การสอน โดยใช้กรอบแนวคิดของ Herzberg (1959) ซึ่งแบ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ปัจจัยจูงใจ เช่น ความสำเร็จในการทำงาน การได้รับการยอมรับ และโอกาสความก้าวหน้า และปัจจัยค้ำจุน เช่น นโยบายบริหารงาน เงินเดือน และสภาพแวดล้อมการทำงาน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือครูผู้สอนภาษาอังกฤษจำนวน 92 คนจาก 14 สถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า ครูมีความต้องการพัฒนาวิชาชีพในระดับสูง โดยเฉพาะด้านการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ การใช้เทคโนโลยีในการสอน และการวัดผลการเรียนรู้ของนักเรียน นอกจากนี้ ปัจจัยด้านวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การสอน มีผลต่อระดับความต้องการพัฒนาวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญ ครูที่มีประสบการณ์มากกว่ามีแนวโน้มต้องการพัฒนาทักษะเชิงลึก เช่น การวิจัยในชั้นเรียน และการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนครูที่มีประสบการณ์น้อยต้องการเสริมพื้นฐานเกี่ยวกับวิธีการสอนและการจัดการชั้นเรียน ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพของครู ให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษาและตลาดแรงงาน ตลอดจนช่วยยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในอาชีวศึกษา
References
นงนภัส ตงแพ. (2565). ความรู้ความสามารถและความต้องการพัฒนาวิชาชีพของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ในอาชีวศึกษาภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
พรรณี ศรีปราชญ์ และพรศักดิ์ สุจริตรักษ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นําของผู้บริหารกับความต้องการพัฒนาวิชาชีพของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดราชบุรี. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 22(2), 52-66.
พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. (2551, 5 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 43 ก. หน้า 1-24.
มนัสนันท์ มีทรัพย์ทอง. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดวิทยาลัยเทคนิคในภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2567). รายงานประจำปี 2567 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สายทิตย์ ยะฟู. (2560). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยสาส์น.
Adipat, S. (2021). Developing technological pedagogical content knowledge (TPACK) through technology-enhanced content and language-integrated learning (T-CLIL) instruction. Education and Information Technologies, 26(5), 6461–6477.
Bayar, A. (2014). The components of effective professional development activities in terms of teachers’ perspective. International Online Journal of Educational Sciences, 6(2), 319–327.
Darling-Hammond, L., Hyler, M. E., & Gardner, M. (2017). (2017). Effective teacher professional development. Learning Policy Institute.
Herzberg, F. (1959). The motivation to work. John Wiley & Sons.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(2), 607–610.
Wichadee, S. (2011). Factors related to professional development of English language university teachers in Thailand. Journal of Education for Teaching: International Research and Pedagogy, 38(5), 615-627.