การร่วมผลิตด้านการจัดการภัยพิบัติอุทกภัยของท้องถิ่น: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
การร่วมผลิตด้านการจัดการภัยพิบัติอุทกภัยของท้องถิ่น: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
การร่วมผลิต, การจัดการภัยพิบัติอุทกภัย, การใช้ชุมชุมเป็นฐานในการจัดการภัยพิบัติอุทกภัยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการจัดการภัยพิบัติอุทกภัยของเทศบาลตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา (2) ศึกษาการร่วมผลิตด้านการจัดการภัยพิบัติอุทกภัยระหว่างเทศบาลกับชุมชนในพื้นที่ (3) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการร่วมผลิตด้านการจัดการภัยพิบัติอุทกภัย และ (4) เสนอแนวทางพัฒนาการร่วมผลิตด้านการจัดการภัยพิบัติอุทกภัย โดยใช้ระเบียบวิธิวิจัยเชิงคุณภาพ มีเทคนิคการวิจัย คือ การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วยเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภัยพิบัติอุทกภัยจำนวน 5 คน ผู้นำชุมชนจำนวน 7 คน และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัยจำนวน 25 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 37 คน ผลการศึกษาพบว่า (1) กระบวนการจัดการภัยพิบัติอุทกภัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ (1.1) ก่อนเกิดภัย เป็นการเตรียมพร้อม เพื่อลดผลกระทบและความสูญเสียในพื้นที่ (1.2) ขณะเกิดภัย เมื่อสถานการณ์เกิดขึ้นในพื้นที่ เทศบาลต้องจัดการปัญหาให้กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว (1.3) ขั้นตอนหลังเกิดภัย เป็นการฟื้นฟูและสำรวจความเสียหาย (2) ชุมชนเข้ามาร่วมผลิตด้านการจัดการอุทกภัยในฐานะผู้ได้รับผลกระทบ และรับรู้ถึงความรุนแรงของเหตุการณ์ที่สามารถขยายความเสียหาย หากไม่มีการเตรียมความพร้อมที่ทันท่วงที (3) การร่วมผลิตด้านการจัดการภัยพิบัติอุทกภัยพบว่า เทศบาลไม่สามารถจัดการปัญหาด้วยตนเองเมื่อเผชิญเหตุ เพราะไม่มีทรัพยากรและมีข้อจำกัดด้านอำนาจหน้าที่ และ (4) การจัดการภัยพิบัติอุทกภัยที่ยั่งยืนต้องเกิดจากความตระหนัก และร่วมถอดบทเรียนเพื่อสร้างชุมชนที่สามารถอยู่ร่วมกับภัย
References
งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานปลัดเทศบาลตำบลปริก. (2564). แผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2564-2570. สงขลา: ฝ่ายปกครอง สำนักปลัดเทศบาลตำบลปริก. https://www.tonprik.go.th/files/com_networknews/2023-06_7f00567bd637c40.pdf
ทวิดา กมลเวชช. (2564). รัฐ ท้องถิ่น: ต้นทางแห่งอำนาจและปลายทางของศักยภาพการจัดการวิกฤตพื้นที่เสี่ยงภัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550. (2550, 7 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 52ก. หน้า 1-23.
เพิ่มพร รวมเมฆ. (2557). การจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐานภายใต้นโยบายการกระจายอำนาจ: กรณีศึกษา เทศบาลนครปากเกร็ด. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน) (2564, 21 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนที่ 76ก. หน้า 1-224.
สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง. (2567). การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม: แนวทางการสร้างพลังความร่วมมือในองค์การ. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 2(4), 841-852.
สุภางค์ จันทวานิช. (2556). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรุณี สัณฐิติวณิชย์. (2557). การร่วมกันจัดบริการสาธารณะระดับท้องถิ่นของพลเมือง: กรณีศึกษาการจัดการขยะของชุมชนชลประทาน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(1), 625-635.
อรุณี สัณฐิติวณิชย์. (2558). การร่วมมกันจัดการขยะมูลฝอย: กรณีศึกษาเทศบาลนครอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 22-34.
อัญชิรญา จันทรปิฎก. (2563). บทวิเคราะห์ “บทบาทรัฐ-สาธารณะ” ในการจัดบริการสาธารณะตามแนวคิดการร่วมผลิต. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 15(2), 240-247.
Abarquez, I., & Murshed, Z. (2004). Community-based Disaster Risk Management: Field Practitioners’ Handbook. Pathumthani: Asian Disaster Preparedness Center.
Kooiman, J. (2000). Societal Governance: Levels, Modes, and Orders of Social Political Interaction. In Pierre, J. (Ed.). Debating Governance: Authority, Steering, and Democracy (pp. 138-164). New York: Oxford University Press.
Sinhasema, S. (2017). Citizen Empowerment: Institutional Collaboration between Pak Kret Municipality and Its Community in the 2011 Flood Disaster Management. Journal of Social Sciences, Naresuan University, 13(1), 163-180.
Srikandini, A. G., Voorst, R. V., & Hilhorst, D. (2018). Disaster Risk Governance in Indonesia and Myanmar: The Practice of Co-governance. Politics and Governance, 6(3), 180-189.
Weber, M. (2011). Bureaucracy. In Ott, J. S., Shafritz, J. M, & Jang, Y. S. (Eds). Classic Reading in Organization Theory (7th ed., pp. 77-82). Boston, MA: Wadsworth.