ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2

ผู้แต่ง

  • ปรีญาวิรุฬห์ เหล่ากสิการ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
  • ฐิตินันท์ ด้วงสุวรรณ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
  • นันธวัช นุนารถ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์

คำสำคัญ:

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, คุณภาพชีวิตการทำงานของครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษา 3) หาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครู จำนวน 306 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามด้านการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า  1. การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  2. คุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพชีวิตการทำงานของครู โดยภาพรวมเป็นความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์เป็นรายด้าน พบว่า การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกด้าน มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษาในทางบวกทุกด้าน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือประเมินสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

เจตนิพิฐ สุจิระกุล, ธีระ รุญเจริญ, ไพศาล หวังพานิช และศรุดา ชัยสุวรรณ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 11(20), 1-12.

ชุติมา รักษ์บางแหลม. (2559). การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และประเด็นปัญหาจริยธรรมในการ บริหารสถานศึกษาของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ฐาณิศรา กาบบัวศรี. (2562). เทคนิคและกระบวนการ POSDCoRBProcess and Techniqueof POSDCORB. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.), 1(3), 15–22.

ณัฏฐ์ณพัชร์ อ่อนตาม. (2562). เทคนิคการบริหารงานแบบ PDCA (Deming Cycle) . วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.), 1(3), 39–46.

ต่อทอง ทองหล่อ. (2562). ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของMaslowกับอสังหาริมทรัพย์เกี่ยวข้องกันอย่างไร. สืบค้น 8 กรกฎาคม 2566 จาก https://propholic.com/prop-talk/ทฤษฎีลำดับขั้นความต้อง/.

ธนภัทร เอมอินทร์ และสมบูรณ์ สาระพัด. (2565). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและสภาพแวดล้อมใน

การปฎิบัติงานที่มีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในบริษัทยานยนต์แห่งหนึ่ง. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 1(2), 19-38.

นฤมล เพ็ญสิริวรรณ. (2561). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 4(2), 117 -125.

นิสราพร แช่มชูงาม. (2561). การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษาสังกัดเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บัญชา บุญบำรุง. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการครูโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ประหยัด พิมพา. (2561). การศึกษาไทยในปัจจุบัน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 7(1), 242–249.

พระเดวิศณ์ สุขถาวโร, ประจิตร มหาหิง และจุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์. (2564). การบริหารสถานศึกษาตามหลักพุทธ

ธรรมาภิบาล. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(3), 767 - 781.

วิกานดา จิรพุทธกร. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนเหนือ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สายทิตย์ ยะฟู. (2560). การวิจัยการศึกษา. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปี 2566. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.nsw2.go.th/wp/documents/action-plan2566/.

สิทธิพร สมบูรณ์ทรัพย์. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนสมศักดิ์วิทยา. การค้นคว้าอิสระ

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อารีรัตน์ จีนแส. (2562). ภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-31

How to Cite

เหล่ากสิการ ป., ด้วงสุวรรณ ฐ., & นุนารถ น. (2025). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 3(1), 26–37. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1493