การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มอำเภอเพ็ญ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มอำเภอเพ็ญ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 97 คน โดยทำการสุ่มแบบชั้นภูมิและทำการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 และแบบสัมภาษณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามออนไลน์ google form ทางอีเมล์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มอำเภอเพ็ญ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การยอมให้ รองลงมา คือ การหลีกเลี่ยง การประนีประนอม ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การเอาชนะ 2. แนวทางการพัฒนาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มอำเภอเพ็ญ 1 มีแนวทางพัฒนา คือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดให้มีหลักสูตรฝึกอบรมการเจรจาต่อรองและทักษะการโน้มน้าวใจ สำหรับบุคลากรในสถานศึกษา ควรส่งเสริมให้บุคลากรในสถานศึกษาฝึกฝนทักษะการสื่อสารและการทำงานร่วมกันผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ควรกำหนดนโยบายและระเบียบข้อบังคับที่เอื้อต่อการใช้วิธีการประนีประนอม ควรส่งเสริมให้บุคลากรในสถานศึกษาฝึกฝนทักษะการสังเกตและการคิดวิเคราะห์ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดเวทีเสวนา การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ และควรพัฒนาทักษะการมองโลกในแง่บวกของตนเองให้มีประสิทธิภาพ โดยสามารถเรียนรู้ได้จากแหล่งต่าง ๆ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แนวทางการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาน้อมนาศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ขับเคลื่อนศาสตร์พระราชาในสถานศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
ต่อศักดิ์ ศรีแก้วแฝก, อโนทัย ประสาน และบูรินทร์ภัฏ พรหมมาศ. (2565). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 16(2), 11-20.
ธร สุนทรายุทธ. (2556). พฤติกรรมเชิงการเมืองในองค์กร: จริตและจริยธรรมของคนองค์กรภาครัฐและเอกชน. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พรพรรณ เรืองฤทธิ์ และสุรเชต น้อยฤทธิ์. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารความขัดแย้งในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(3), 89-107.
ศิริวรรณ มนอัตระผดุง. (2559). การบริหารความขัดแย้งในองค์การอย่างสร้างสรรค์. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 193-208.
ศรัณย์รัชต์ ศุภรณ์พานิช. (2564). แนวทางการพัฒนาการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหาร สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(12), 70–84.
เศรษฐพล บัวงาม. (2563). การบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. (2566). รายงานผลการดําเนินงานประจําป งบประมาณ พ.ศ. 2566. กลุมนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สิญาธร นาคพิน และวิลาวัณย์ สมบูรณ์. (2562). การบริหารความขัดแย้งในองค์กรภาครัฐ ยุคประเทศไทย 4.0. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 6(2), 21-46.
อภิสรา ศรีบุศยกุล. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
อัจฉรา ลิ้มวงษ์ทอง. (2557). การบริหารความขัดแย้งในองค์การ. กรุงเทพฯ: บุ๊คส์ ทู ยู.
Burns, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper & Row.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.
Marx, K. (1867). Das Kapital: Kritik der politischen Ökonomie (Volume 1). Hamburg: Verlag von Otto Meissner.
Owens, R. G. (2004). Organizational Behavior in Education: Adaptive Leadership and School Reform (8th ed.). New York: Pearson Education.
Sergiovanni, T. J. (2006). The principalship: A reflective practice perspective. Boston: Allyn & Bacon.