การประเมินโครงการวัยรุ่นยุคใหม่ ห่างไกลยาเสพติด โรงเรียนบางขันวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ปรรัช หัตถประดิษฐ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • รัฐพร กลิ่นมาลี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • วีระยุทธ ชาตะกาญจน์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

โครงการวัยรุ่นยุคใหม่ ห่างไกลยาเสพติด, การประเมินโครงการ, CIPPI Model

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและ ด้านผลผลิตของการประเมินโครงการวัยรุ่นยุคใหม่ห่างไกลยาเสพติดโรงเรียนบางขันวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช โดยใช้รูปแบบการประเมินของ CIPP Model กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครู นักเรียน และผู้ปกครอง โรงเรียนบางขันวิทยา จำนวน 706 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน       

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การประเมินด้านบริบท พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับหลักการและเหตุผล และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา
  2. การประเมินปัจจัยนำเข้า พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ เอกสารที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมในโครงการมีความเหมาะสมและเพียงพอ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือมีสภาพพร้อมใช้งาน
  3. การประเมินกระบวนการดำเนินงาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ กิจกรรมในโครงการสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องด้วยวิธีการที่หลากหลายครบทุกกิจกรรม
  4. การประเมินผลผลิต

           4.1 ด้านผลผลิต โดยครูเป็นผู้ประเมิน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีผลการประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มีผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

           4.2 ด้านผลผลิต โดยนักเรียนเป็นผู้ประเมิน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากโครงการไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ สามารถปฏิบัติกิจกรรมได้ครบถ้วนตามลำดับที่กำหนด

           4.3 ด้านผลผลิต โดยผู้ปกครองเป็นผู้ประเมิน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ บุตรหลานตระหนักในตนเอง เข้าใจตนเองมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ บุตรหลานเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น

References

Boonyanyao, Sl. (2016). Actions to prevent and solve drug problems of educational

Institutions Bang Krathum District Under the Office of Phitsanulok Primary Education Service Area 2. Retrieved on 11 September 2019. (in Thai)

Bunnuam, T. (2009). Study on the evaluation of drug prevention and solution projects in Tha Muang Rat Bamrung School. Master of Education, Education Administration. Graduate School. Mahasarakham University. (in Thai)

Hongsuthi, P. & others. (2017). Factors influencing drug addiction prevention behavior Addicted to male students at the school expanding opportunities. Journal of Boromarajonani College of Nursing Bangkok. Year 33, Issue 3, September-December 2017. Page 112. (in Thai)

Kontak, JCH. et al. (2017). The picture of health: examining school-based health environments through photographs. Health Promotion International, 32(2), 322 - 330.

Maratham, W. (2009). Evaluation of Substance Abuse Prevention and Solution Projects in Demonstration Schools Ban Chetawan Municipality. Phrae Province. Date of retrieval 2 February 2013, (in Thai)

National Power Overcome National Narcotic Directorate Center. (2016). Action Plan for the Prevention and Solution of Drug Problems 2016. Retrieved 3 April 2019. (in Thai)

Phoket, T. (2018). Evaluation of the Health Promotion School Project at the Diamond Level. Ban Don Yang School Office of the District of Chiang Rai Primary Educational Service Area 4. Journal of Buddhist Social Sciences and Anthropology, 5 (10), 286-299. (in Thai)

Rodchinda, S. (2018). Administration of the prevention and solution of substance abuse problems in schools. Expanding educational opportunities under the Nan Primary Educational Service Area Office, Region 1. Retrieved on 8 September 2019. (in Thai)

Sasuan, K., & DilokWutthisit, P. (2012). Development of an epidemic prevention model of drugs among children and youth in municipal areas. Chachoengsao: municipal districts. Provinces. Retrieved on 5 September 2019. (in Thai)

Thanomsridetchai, C. (2016). Municipal drug prevention management according to sustainable management concept. Valaya Alongkorn Review Journal (Humanities and Social Sciences) Year 6 (No. 3) September-December 2016} pp. 93-34. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29