วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช https://so15.tci-thaijo.org/index.php/gsjnstru <p>วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชกำหนดออก : 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม<br /><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์</strong> : วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ประยุกต์ (ศิลปศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ บริหารธุรกิจ นิเทศศาสตร์ การจัดการสารสนเทศ ครุศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ การจัดการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และสาขา อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง)</p> Graduate NSTRU (บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช) th-TH วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 2985-1009 แนวทางการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/gsjnstru/article/view/191 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู และ 2) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำนวน 281 คน โดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิตามพื้นที่จัดการศึกษา และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม คือ ผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่ม จำนวน 8 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษาการบริหารงานวิชาการ หัวหน้าการบริหารงานวิชาการ และครู โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) การส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านนโยบายและแผนส่งเสริมการดำเนินงานวิจัยในชั้นเรียน ด้านการสร้างแรงจูงใจในการทำวิจัยในชั้นเรียน ด้านการกำกับติดตามการดำเนินงานวิจัยอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ด้านการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานวิจัยในชั้นเรียน และด้านการเผยแพร่ผลงานวิจัย 2) แนวทางการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 คือ ผู้บริหารประชุมคณะครูเพื่อชี้แจงนโยบาย วัตถุประสงค์และหัวข้อเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน มีการส่งครูผู้สอนเข้ารับการอบรมหาความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียนตามหน่วยงานต่าง ๆ จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อสนับสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียน ผู้บริหารให้การยกย่องชมเชยครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียนต่อที่ประชุมในโรงเรียนหรือที่สาธารณชน และสนับสนุนให้ครูที่มีความรู้ความสามารถทางการวิจัยในชั้นเรียนไปเป็นวิทยากรหรือเป็นพี่เลี้ยงในการทำวิจัยในชั้นเรียน ส่งเสริมให้ครูที่มีผลงานวิจัยในชั้นเรียนนำผลงานมาเป็นผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้น เปิดโอกาสให้บุคลากรที่สนใจในการทำวิจัยในชั้นเรียนได้ศึกษาดูงานในสถานศึกษา และสนับสนุนให้มีการตีพิมพ์ลงในวารสารของเขตพื้นที่การศึกษา</p> กาญจนา แต่งตั้ง Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 2 1 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับ ทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/gsjnstru/article/view/194 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ<span style="font-size: 0.875rem;">1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา </span>2) เพื่อศึกษาทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำแนกตามพื้นที่การจัดการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำนวน 311 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามพื้นที่จัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีภาวะผู้นำอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการนิเทศ ด้านความสามารถ ด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ และด้านการวางแผน 2) ทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านทักษะเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน ด้านทักษะการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านทักษะพื้นฐาน ด้านทักษะเกี่ยวกับศาสตร์การสอนและแหล่งข้อมูลออนไลน์ และด้านทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัล 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง</p> กชกร กันภัย Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 2 1 ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับการบริหารแบบมีส่วนร่วม ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/gsjnstru/article/view/28 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา การบริหารแบบมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษา และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษา จำนวน 250 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ตามพื้นที่จัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านพบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรในสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และด้านการวัดผลประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน 2) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านพบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ และด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 พบว่าในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</span></p> วราภรณ์ ห้วยหงษ์ทอง Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 2 1 พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี https://so15.tci-thaijo.org/index.php/gsjnstru/article/view/29 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี จำแนกตามเพศและขนาดสถานศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูผู้สอน จำนวน 307 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการขอความคิดเห็นจากผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อใช้เปลี่ยนแปลงการตัดสินใจ ด้านการขอความคิดเห็นจากผู้ใต้บังคับบัญชามาประกอบการตัดสินใจ ด้านการเกลี้ยกล่อมให้ผู้ใต้บังคับบัญชายอมรับผลการตัดสินใจของผู้บริหาร ด้านการเสนอปัญหาแล้วขอคำแนะนำจากผู้ใต้บังคับบัญชาแล้วนำมาพิจารณาตัดสินใจ ด้านการตัดสินใจแล้วแจ้งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบ ด้านการมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตัดสินใจได้ภายในขอบเขต และด้านการชี้ข้อจำกัดแล้วให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ตัดสินใจ 2) การเปรียบเทียบพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ โดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการตัดสินใจแล้วแจ้งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบ ด้านการเกลี้ยกล่อมให้ผู้ใต้บังคับบัญชายอมรับผลการตัดสินใจของผู้บริหาร และด้านการขอความคิดเห็นจากผู้ใต้บังคับบัญชามาประกอบการตัดสินใจ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยครูผู้สอนเพศชายมีความคิดเห็นมากกว่าครูผู้สอนเพศหญิง 3) การเปรียบเทียบพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตัดสินใจได้ภายในขอบเขตมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษมีการปฏิบัติมากกว่าสถานศึกษาขนาดกลาง</p> สุลัดดา ยี่รัญศิริ Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 2 1