แนวทางการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3

ผู้แต่ง

  • กาญจนา แต่งตั้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

แนวทางการส่งเสริม, การทำวิจัยในชั้นเรียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู และ 2) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3  จำนวน 281 คน โดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิตามพื้นที่จัดการศึกษา และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม คือ ผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่ม จำนวน 8 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษาการบริหารงานวิชาการ หัวหน้าการบริหารงานวิชาการ และครู โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

            ผลการวิจัย พบว่า 1) การส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านนโยบายและแผนส่งเสริมการดำเนินงานวิจัยในชั้นเรียน ด้านการสร้างแรงจูงใจในการทำวิจัยในชั้นเรียน ด้านการกำกับติดตามการดำเนินงานวิจัยอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ด้านการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานวิจัยในชั้นเรียน และด้านการเผยแพร่ผลงานวิจัย 2) แนวทางการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 คือ ผู้บริหารประชุมคณะครูเพื่อชี้แจงนโยบาย วัตถุประสงค์และหัวข้อเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน มีการส่งครูผู้สอนเข้ารับการอบรมหาความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียนตามหน่วยงานต่าง ๆ จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อสนับสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียน ผู้บริหารให้การยกย่องชมเชยครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียนต่อที่ประชุมในโรงเรียนหรือที่สาธารณชน และสนับสนุนให้ครูที่มีความรู้ความสามารถทางการวิจัยในชั้นเรียนไปเป็นวิทยากรหรือเป็นพี่เลี้ยงในการทำวิจัยในชั้นเรียน ส่งเสริมให้ครูที่มีผลงานวิจัยในชั้นเรียนนำผลงานมาเป็นผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้น เปิดโอกาสให้บุคลากรที่สนใจในการทำวิจัยในชั้นเรียนได้ศึกษาดูงานในสถานศึกษา และสนับสนุนให้มีการตีพิมพ์ลงในวารสารของเขตพื้นที่การศึกษา

References

Academic Department. (2001). Research for learning development. Bangkok: Department of Religious Affairs. (in Thai)

Auengsakul, B. (2013). Teacher and Research: Bridge connecting the gap between expectation and reality of national education development. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Chaiyadam, P. (2019). A study of the state of promoting research in the classroom in schools under Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Office 3. Master thesis, M. Ed., Ubon Ratchathani Rajabhat University, Ubon Ratchathani. (in Thai)

Chanphong, D. (2005). Role of educational institution administrators in promoting classroom action research of teachers attached to the Office of Lamphun Educational Service Area 1. Master thesis, M. Ed., Chiang Mai University, Chiang Mai. (in Thai)

Kumlapit, S. (2020). The Classroom research promotion guidelines based on the POLC Management Process of the Special Education Center in Mae Hong Son Province. Independent study, M. Ed., Chiang Mai Rajabhat University, Chiang Mai. (in Thai)

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Makornmonthian, K. (2020). The administration guidelines for promoting classroom research of Kittikhundoiluangvidhaya School under Chiang Rai Provincial Education Office. Master thesis, M. Ed., Chiang Rai Rajabhat University, Chiang Rai. (in Thai)

Maneewan, N. (2021). The role of school administrators to enhance classroom action research under the Office of the Secondary Educational Service Area 2 according to the teacher’s views. Independent study, M.Ed., Ramkhamhaeng University, Bangkok. (in Thai)

Nentakong, K. (2021). Development of the model for promoting classroom research of teachers in Wat Jantaram (Tangtrongjit 5) School. Independent study, M. Ed., Christian University of Thailand, Nakhon Pathom. (in Thai)

Office of the Basic Education Commission. (2011). The research to develop learning according to the basic educational standard. Bangkok: Kurusapha Ladprao. (in Thai)

Plaisang, P. and Chatruprachewin, C. (2017). Strategies to encourage research of educational personnel in the office of primary educational service area. Doctoral dissertation, Ph.D., Naresuan University, Phitsanulok. (in Thai)

Sadkla, Ch. (2017). Condition of promoting classroom research in childcare centers under Local Administration Organization, Phanom Thuan District, Kanchanaburi Province. Independent study, M. Ed., Kanchanaburi Rajabhat University, Kanchanaburi. (in Thai)

Sangthata, A. (2014). The study of internal supervision in schools supporting teachers’ classroom research developing in school under Sumutprakan Provincial Education Office. Academic Journal, 6(1), 48-50. (in Thai)

Sitthisak, M. (2022). Role of administrators in promoting classroom research of secondary school teachers in Chainat Province under the Secondary Education Service Area Uthai Thani, Chainat. Independent study, M. Ed., Ramkhamhaeng University, Bangkok. (in Thai)

The Secretariat of the Cabinet. (2019). National Education Act (Vol. 4) BE 2562 (2019). Retrieve from https://www.moe.go.th. (in Thai)

Thongjam, S. (2019). Role of the executive in promoting classroom research of the teacher in Songkhunkhao School Network in Khaochakan District under Sakaeo Primary Educational Service Area Office 1. Master thesis, M. Ed., Burapha University, Chonburi. (in Thai)

Wongrattana, C. (2012). Statistic techniques for research. Bangkok: Tip Publication. (in Thai)

Wongwanich, S. (2005). The handbook for classroom research of schools under Bangkok Metropolitan Administration. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand Press. (in Thai)

Yatan, J. (2019). Management guidelines for promoting classroom research of Pong Klang Nam Prachasan School Under the Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area 2. Master thesis, M. Ed., Chiang Rai Rajabhat University, Chiang Rai. (in Thai)

Yodsatern, A. (2007). The role in improving the classroom research of the school administrators under the office of Maha Sarakham Education Service Area II. Rajabhat Maha Sarakham Univewongtongrsity, Maha Sarakham. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30